ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
เกษตรอุดช่องโหว่ทุกปัญหาทุเรียนใต้ต้องไปถึงจีน
06 ก.ค. 2566

กระทรวงเกษตรฯ ถอดบทเรียนทุเรียนภาคตะวันออก พร้อมกำหนดแนวทางป้องกัน อุดช่องโหว่ปัญหาไม่ให้เกิดซ้ำ เล็งสร้างแอปพลิเคชั่น เพิ่มความสะดวกให้กับเกษตรกร

นายสุรเดช สมิเปรม รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะทำงานแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพและการสวมสิทธิ์ใช้ใบรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ของเกษตรกรเพื่อการส่งออกทุเรียนของประเทศไทย ครั้งที่ 4/2566  ว่า  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ให้ความสำคัญในการควบคุมและป้องกันทุเรียนด้อยคุณภาพเพื่อให้ผลผลิตทุเรียนที่จะทำการส่งออกต้องได้คุณภาพและเป็นไปตามมาตรฐานการส่งออกที่กำหนด ซึ่งจากผลการดำเนินงานของคณะทำงานแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพฯ ที่ผ่านมา ได้ร่วมกันผลักดันการดำเนินงานทุเรียนคุณภาพทั้งภาคตะวันออกและภาคใต้กันอย่างเข้มข้น และขอชื่นชมทุกหน่วยงานที่ดำเนินการตามนโยบายและปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการป้องกันและควบคุมในระยะต่อไป 

ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้มีการถอดบทเรียนทุเรียนภาคตะวันออก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับจัดระบบการผลิตทุเรียนคุณภาพให้เข้มข้นยิ่งขึ้น บูรณาการทำงานร่วมกันในการแก้ไขปัญหาเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำ อีกทั้ง ที่ประชุมได้เห็นชอบให้พิจารณาแนวทางการจัดทำแอพพลิเคชั่นมาใช้กับระบบการผลิตทุเรียนคุณภาพ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกร และผู้ประกอบการ

นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตรได้รายงานสถานการณ์การส่งออกทุเรียนสดจากไทยไปจีน (สะสมตั้งแต่ 1 ม.ค. - 30 มิ.ย.66) ส่งออก 41,189 ชิปเมนต์ ปริมาณ 686,455.77 ตัน คิดเป็นมูลค่า 89,207.39 ล้านบาท โดยที่ประชุมได้รายงานผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาทุเรียนด้อยคุณภาพและการสวมสิทธิ์ใช้ใบรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ปี 2566 ดังนี้ 

1. ภาคตะวันออก ตรวจก่อนตัด เกษตรกรนำผลผลิตทุเรียนมาตรวจฯ 14,477 ตัวอย่าง ตรวจก่อนปิดตู้ แบ่งเป็น ก่อนประกาศวัน เก็บเกี่ยวทุเรียน ระหว่างวันที่ 1 ก.พ. - 15 เม.ย.66 ตรวจสอบโรงคัดบรรจุ 528 โรง ตรวจสอบคุณภาพทุเรียน 4,998 ตัวอย่าง ผ่านการตรวจ 4,683 ตัวอย่าง คิดเป็น 93.70% 

 หลังประกาศวันเก็บเกี่ยวทุเรียน ระหว่างวันที่ 16 เม.ย. - 22 มิ.ย.66 ตรวจสอบโรงคัดบรรจุ 8 โรง ตรวจสอบคุณภาพทุเรียน 1,061 ตัวอย่าง ผ่านการตรวจ 1,040 ตัวอย่าง คิดเป็น 98.02%  ขึ้นทะเบียนนักคัดนักตัด จ.จันทบุรี รวม 9,908 ราย (ณ วันที่ 5 ก.ค. 66) โดยขอเชิญชวนจังหวัดที่จะเริ่มมีผลผลิตทุเรียน เข้ามาใช้บริการระบบลงทะเบียนนักคัดนักตัด ได้ที่ นักคัดนักตัดทุเรียนซึ่งมีรายละเอียด ชื่อ - นามสกุล ประเภทของนักคัดนักตัด และประสบการณ์ตัดทุเรียน

และ 2. ภาคใต้  ตรวจก่อนปิดตู้ ก่อนประกาศวันเก็บเกี่ยวทุเรียน ระหว่างวันที่ 1 ก.พ. - 9 มิ.ย.66 ตรวจสอบโรงคัดบรรจุ 42 โรง ตรวจสอบคุณภาพทุเรียน 323 ตัวอย่าง ผ่านการตรวจ 307 ตัวอย่าง คิดเป็น 95.05% หลังประกาศวันเก็บเกี่ยวทุเรียน ระหว่างวันที่ 10 มิ.ย. – 30 มิ.ย.66 ตรวจสอบโรงคัดบรรจุ 232 โรง ตรวจสอบคุณภาพทุเรียน 701 ตัวอย่าง ผ่านการตรวจ 673 ตัวอย่าง คิดเป็น 96.01% ขึ้นทะเบียนนักคัดนักตัด จ.ชุมพร จำนวน 1,139 ราย ได้จัดอบรมนักคัดนักตัดแล้ว 2,934 ราย แยกเป็นชุมพร 2,826 ราย และ สุราษฎร์ธานี 108 ราย

อย่างไรก็ตาม จากกรณีที่มีการสวมสิทธิ์ใช้ใบรับรอง GAP ของเกษตรกรเพื่อการส่งออกทุเรียนในพื้นที่ภาคใต้นั้น เพื่อให้เป็นการป้องกันและควบคุมคุณภาพทุเรียนเพื่อการส่งออก ที่ประชุมจึงได้เน้นย้ำและกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการอย่างเข้มงวด 

 โดยกรมวิชาการเกษตร กำกับ ควบคุม ตรวจสอบ และประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบควบคุมคุณภาพการผลิตหลังการออกใบรับรอง GAP และ GMP ให้กับสวนทุเรียนและผู้ส่งออกทุเรียน ตรวจสอบและรับรองสุขอนามัยพืชในสินค้าทุเรียนและหากพบทุเรียนด้อยคุณภาพ ให้ใช้มาตรการทั้งทางการปกครองและทางกฎหมายเพื่อดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดโดยทันที 

ตลอดจนเพิ่มความเข้มงวดในการเฝ้าระวัง ควบคุม และการตรวจสอบกักกันทุเรียนส่งออกและนำเข้า กรณีที่มีการสวมสิทธิ์ทุเรียนให้มีการดำเนินการขั้นเด็ดขาด โดยการถอดถอนใบรับรอง GAP และ GMP และให้มีการดำเนินการตามกฎหมายทั้งทางแพ่งและอาญากับผู้ที่มีส่วนร่วมในการกระทำผิดทุกระดับตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด และให้ถือปฏิบัติตามคำสั่งของจังหวัดในการควบคุมป้องกัน พร้อมทั้งสั่งการและควบคุม ดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบทางราชการโดยเคร่งครัด หากพบว่ามีการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ และมีการทุจริต ให้หัวหน้าหน่วยงานสั่งการดำเนินการทางวินัยอย่างเคร่งครัด

กรมส่งเสริมการเกษตร ส่งเสริมการเก็บเกี่ยวผลผลิตทุเรียนที่มีคุณภาพในทุกพื้นที่ทุกแปลง ทั้งการเก็บเกี่ยวผลผลิตนอกฤดูและตามฤดูกาลผลิต เพื่อให้มีการจำหน่ายผลผลิตคุณภาพ และให้ถือปฏิบัติตามคำสั่งของจังหวัดในการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาทุเรียนออกสู่ตลาด รวมทั้งสั่งการและควบคุม ดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบทางราชการโดยเคร่งครัด

และ 3. สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด เกษตรจังหวัด และสหกรณ์จังหวัด ทุกจังหวัดที่มีผลผลิตทุเรียน ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างใกล้ชิด โดยหากมีสถานการณ์ขอให้รายงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทราบโดยด่วน

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 พฤษภาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...