ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
"ฟักทองบัตเตอร์นัท" สร้างรายได้
16 ต.ค. 2566

เกษตรกรรุ่นใหม่ยะลาหันมาปลูกฟักทองบัตเตอร์นัทไร้ดิน สร้างรายได้อย่างงามผลที่เห็นรูปร่างคล้ายน้ำเต้าผิวสีเหลืองเข้ม เนื้อในสีเหลืองส้มเป็นผลฟักทองชนิดหนึ่ง หรือที่เรียกว่าบัตเตอร์นัทในแปลงทดลองเกษตรกรรุ่นใหม่ที่จังหวัดยะลา ซึ่งได้หันมาทดลองปลูกบัตเตอร์นัทพันธุ์สควอช ซึ่งเป็นฟักทองญี่ปุ่นด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ ซึ่งเป็นการปลูกผักระบบน้ำแบบไร้ดิน เพราะมองว่ายังไม่มีใครปลูก หลังทดลองนำเมล็ดพันธุ์มาลองปลูก ควบคุมอุณหภูมิของโรงเรือนเพื่อให้บัตเตอร์นัทเจริญเติบโตได้ดี 40 วัน บัตเตอร์นัทให้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ สามารถเก็บขายสร้างรายได้อย่างงาม

นายกามาล อับดุลเลาะ ได้เล่าให้ฟังว่า ปกติแปลงของตนเองจะปลูกมะเขือเทศ เมล่อน มาก่อน แต่พอฤดูฝนปลูกไม่ค่อยได้ผลเท่าไหร่ ก็เลยต้องหาพืชตัวใหม่มาปลูกทดแทน ปีหนึ่งมีหลายฤดู อย่างฤดูฝนก็จะปลูกได้ทั้งในช่วงต้น และปลายฤดูฝนก็เลยนำบัตเตอร์นัทมาลองปลูก ซึ่งบัตเตอร์นัทเป็นตระกูลฟักที่มีความทนต่อความชื้นและโรคได้ชอบอากาศเย็นก็นำมาปลูกดูในช่วงนี้ ก็เป็นช่วงต้นหน้าฝน ซึ่งผลออกมาได้ผลดีกว่าพืชชนิดอื่นที่ไม่สามารถทนฤดูฝนได้

สำหรับพันธุ์ที่นำมาปลูกจะเป็นบัตเตอร์นัทสควอชฟักทองญี่ปุ่น เลือกตัวนี้เพราะว่าเป็นฟักทองที่อยู่ในเมืองหนาว ทางเราจะเป็นฤดูฝน น่าจะทนเรื่องของความชื้นได้ หลังปลูกขึ้นมา ทนความชื้นได้ระดับหนึ่งให้ผลตอบแทนที่ดีในส่วนของระยะเวลาการปลูก และให้ผลผลิตนั้น บัตเตอร์นัทจะติดผล 40-45 วัน สำหรับพืชตระกูลฟักมันจะออกดอกออกผลไปเรื่อยๆ จนเต็มพื้นที่ หรือจะแก่ไปเอง ถ้ารากเยอะเราก็ต้องรื้อไป การขายก็จะขายเป็นกิโล กิโลกรัมละ 100 บาท ลูกหนึ่งต่ำๆ ก็จะอยู่ที่ครึ่งกิโลสูงสุดกิโลถึงกิโลครึ่ง สำหรับฟักทองตัวนี้จะมีรสชาติที่อร่อยกว่า เนื้อจะละเอียดกว่าจะไม่มีเส้น มีความแน่นของเนื้อดูผิวเผินจะดูเหมือนตระกูลมันเทศ แต่พอกินรสชาติจะออกเป็นฟักทอง

สำหรับผู้ที่สนใจอยากลิ้มชิมรสชาติบัตเตอร์นัทฟักทองญี่ปุ่น รสชาติหวานหอมอร่อย มีประโยชน์มากมาย สามารถติดต่อได้ที่ เฟซบุ๊ก Kamal Abdullah อิหซานฟาร์มยะลา หรือทางโทรศัพท์ 082-8252528 กามาล อับดุลเลาะ

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 พฤษภาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...