ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
การเมือง / การปกครอง ย้อนกลับ
รัฐมนตรีเอเปคสรุปถ้อยแถลงเปลี่ยนผ่านภูมิภาคสู่ความยั่งยืน
16 พ.ย. 2566

ปิดฉากประชุม รัฐมนตรีเอเปค เปิดแถลงการณ์ร่วมเปลี่ยนผ่านดิจิทัลเท่าเทียมความยั่งยืน และยืดหยุ่นในการรับมือภัยพิบัติฉุกเฉินทางภูมิอากาศ

ช่วงสัปดาห์การประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือเขตเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) ระหว่าง 14-16 พ.ย.2566  ณ นครซานฟรานซิสโก สหรัฐ 

นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า สำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรีความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก หรือเอเปค เปิดฉากวันแรก(14 พ.ย.2566) โดยที่ประชุมหารือรับรองถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีเอเปค ประจำปี 2023 ซึ่งเป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ระดับรัฐมนตรีมีสาระสำคัญเพื่อทบทวนการทำงานของเอเปคในปีที่ผ่านมา และให้แนวทางสำหรับการดำเนินการต่อไป

โดยสาระร่างถ้อยแถลงได้แก่ การสร้างเชื่อมโยง ว่าด้วยการส่งเสริมด้านการค้า และการลงทุนที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในภูมิภาคเอเปค MSME สตรี และกลุ่มอื่นๆ ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจแต่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ (เช่น กลุ่มชนพื้นเมือง ดั้งเดิม ผู้พิการ และกลุ่มคนจากชุมชนชนบท และชุมชนห่างไกล)

โดยใช้ความร่วมมือทางเทคนิค และการเสริมสร้างขีดความสามารถในอนาคต (เช่น การฝึกอบรม) รวมทั้งการสนับสนุนจากระบบ การค้าพหุภาคีที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎระเบียบ โดยมีองค์การการค้าโลกเป็นแกนกลาง

เพื่อให้สมาชิกเอเปคสามารถจัดการกับความท้าทายทางการค้าโลกในปัจจุบัน และที่จะเกิดขึ้นใหม่ อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การหารือเพื่อให้มีกลไกระงับข้อพิพาทที่ทำงานได้ดี เต็มที่ และเข้าถึงได้ โดยสมาชิกทั้งหมดขององค์การการค้าโลก ภายในปี ค.ศ.2024

คุ้มครองผู้บริโภคระบบดิจิทัล

ความร่วมมือในการอำนวยความสะดวกของการไหลเวียนของข้อมูล และเสริมสร้างความเชื่อมั่นของธุรกิจ และผู้บริโภคในการทำธุรกรรมดิจิทัล ผ่านความร่วมมือด้านกฎระเบียบสำหรับอินเทอร์เน็ต และเศรษฐกิจดิจิทัล ตลอดจนการคุ้มครองผู้บริโภคในระบบดิจิทัล และการส่งเสริมสิทธิในทรัพย์สิน ทางปัญญาผ่านนโยบายและโครงการที่ผลักดันนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์

การเสริมสร้างระบบสาธารณสุข เพื่อป้องกัน เตรียมความพร้อม และตอบสนองต่อโรคระบาด ทั้งนี้เพื่อสร้างระบบสาธารณสุขที่ยืดหยุ่น เท่าเทียม และยั่งยืน โดยย้ำความมุ่งมั่นของรัฐมนตรีสาธารณสุขเอเปค ในการบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าผ่านการลงทุน และการระดมทุนเพื่อสร้างระบบสาธารณะ ที่เข้มแข็ง และยืดหยุ่น รองรับแรงงานด้านสาธารณสุขที่มีทักษะ และความสามารถ รวมถึงระบบ สุขภาพดิจิทัล และการประสานงานเพื่อรับประกันการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ปลอดภัย มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ

รับมือภัยพิบัติฉุกเฉินทางภูมิอากาศ

หัวข้อการส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ว่าด้วยการบริหารจัดการเหตุฉุกเฉินเพื่อเตรียมความพร้อมของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ต่อภัยพิบัติ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยให้สำคัญกับกรอบ และแผนปฏิบัติการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติของเอเปค ในการเตรียมความพร้อมแก่เขตเศรษฐกิจเอเปคต่อภูมิทัศน์ด้านภัยพิบัติที่ซับซ้อนขึ้น และพยายาม ขับเคลื่อนคำมั่นของผู้นำเปิดในการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจโลกที่ยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศ

 

ต้านประมงผิดกฎหมาย-จัดการขยะทางทะเล

รวมทั้งการต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม แผนงาน ด้านขยะทะเล และแผนงานด้านการทำประมงรายย่อย และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของเอเปค ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าการทำประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นไปอย่างยั่งยืน และมีส่วนสนับสนุน ความมั่นคงอาหารโลก ส่งเสริมการใช้เศรษฐกิจ เพื่ออำนวยความสะดวกให้เกิดการเติบโตเกินครอบคลุม และมีนวัตกรรม โดยเร่งดำเนินการตามแผนงานด้านอินเทอร์เน็ต และเศรษฐกิจดิจิทัลของเอเปค และสนับสนุนให้เขตเศรษฐกิจเพิ่มความพยายามในการเร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล เสริมสร้าง ขีดความสามารถ และเพิ่มพูนความรู้ และทักษะด้านดิจิทัลของแรงงานในยุคดิจิทัล

และเสริมการนำเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing คือ การให้บริการทางคอมพิวเตอร์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึง และใช้งานทรัพยากรคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ จากที่ไหนก็ได้) มาใช้อย่างรวดเร็วในภูมิภาค และสร้างเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ MSME ในตลาดโลก ฝานธุรกิจ คอมเมิร์ซข้ามพรมแดน และการค้าดิจิทัล 

เปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจสีเขียว

การเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจสีเขียวผ่านข้อริเริ่มของเขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปค และคำมั่น เรียงการปล่อยกันศูนย์ รวมถึงการปรับการค้าเนินงานของภาครัฐให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภัยคุกคามร้ายแรงจากการทุจริต โดย เคลื่อนวาระการต่อต้านการทุจริต และความโปร่งใส ช่องเอเปค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกลไกและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และอำนวยความสะดวก ในการดำเนินการตามอนุสัญญาต่อต้านการทุจริตของสหประชาชาติ และหลักการของเอเปค เรื่อง การป้องกันการติดสินบน และการบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการติดสินบน เพื่อสร้างความยืดหยุ่น ภายในเขตเศรษฐกิจเอเปค

หัวข้อการเสริมสร้างที่ครอบคลุม ว่าด้วยการส่งเสริม MSME เข้าสู่ตลาดโลก โดยการเพิ่มการเข้าถึงเงินทุน การพัฒนาโอกาส และเพิ่มการมี ส่วนร่วมในตลาดภูมิภาคและตลาดโลก รวมถึงการบูรณาการในห่วงโซ่อุปทาน และห่วงโซ่มูลค่าโลก

 การบูรณาการประเด็นเพศสภาพ ผ่านการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ เท่าเทียม และมีความหมาย ของสตรีในทุกเศรษฐกิจ เช่น ให้ความสำคัญของการลงทุนอย่างเพียงพอในโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการดูแล (เช่น การเข้าถึงบริการสุขภาพ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการจ้างงานที่เป็นธรรม ฯลฯ) เพื่อให้มั่นใจว่าสตรีมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ เท่าเทียม และมีความหมายในทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และมีความเป็นผู้นำในทุกระดับ และในทุกการตัดสินใจ

รวมทั้งสนับสนุนการมีส่วนร่วมของสตรี ในการศึกษา บูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (Science, Technology, Engineering and Mathematics: STEM) เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านหลักการ และการดำเนินการเรื่องสตรีในสะเต็มศึกษาของเอเปค ที่ครอบคลุม 

เตรียมทักษะแรงงานรับการเปลี่ยนผ่าน

การปรับปรุงคุณภาพของการศึกษาและอาชีวศึกษา ผลักดันการจ้างงานและการมีงานที่ดี โดยการสร้างทักษะใหม่ และพัฒนาทักษะเดิมให้ดีขึ้น รวมทั้งส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต การฝึกอบรมเพื่อสร้างแรงงานที่มีทักษะ มีประสิทธิผล และคล่องตัว ซึ่งจะเป็นการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์และความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการที่ครอบคลุม การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานที่เป็นธรรม โดยส่งเสริมให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...