ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
การเมือง / การปกครอง ย้อนกลับ
ด่วนราชกิจจาฯประกาศห้ามใช้ยาDeclofenac
29 พ.ย. 2566

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศสภาการพยาบาล เรื่องห้ามมิให้ยา ชนิดฉีด ลงนามโดย รองศาสตราจารย์สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ นายกสภาการพยาบาล

ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า เนื่องจากยา Diclofenac ชนิดฉีด ซึ่งเป็นยาแก้ปวดในกลุ่มยาต้านอักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์ มีรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อผู้รับบริการภายหลังการฉีดยามีแนวโน้มสูงขึ้น

ประกอบกับคู่มือการดำเนินงานโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational Drug UseHospital Manual) โดยคณะอนุกรรมการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ (2558) แนะนำให้จำกัดการใช้ยา Diclofenac ชนิดฉีด เฉพาะโรงพยาบาลระดับตติยภูมิขึ้นไป โดยให้แพทย์เฉพาะทางเป็นผู้ให้บริการแก่ผู้รับบริการ

อาศัยอำนาจตามความในข้อ 6.1 และ 6.2 แห่งข้อบังคับสภาการพยาบาล ว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2564 สภาการพยาบาลโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสภาการพยาบาลในการประชุมครั้งที่ 10/2566 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2566 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1.ห้ามมิให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง หรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ให้ยา Diclofenac ชนิดฉีด

ข้อ 2.ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง หรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง จะเป็นเพียงผู้ช่วยเหลือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในการดูแลผู้รับบริการก่อนและหลังการฉีดยา Diclofenac ตามมาตรฐานวิชาชีพ

ข้อ 3.ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป)

ข้อมูลจากเว็บไซต์ พบแพทย์ POBPAD ระบุว่า ยา Diclofenac (ไดโคลฟีแนค) เป็นยาแก้ปวดในกลุ่มยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) ตัวยาจะออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างสารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandins) ในร่างกายที่ก่อให้เกิดอาการบวมและอักเสบ จึงช่วยบรรเทาอาการปวดบวมจากการอักเสบ ปวดข้อกระดูก เช่น โรคข้อเสื่อม ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ปวดท้องประจำเดือน ข้ออักเสบ อาการปวดทั่วไป

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 พฤษภาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...