ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
คคบ.ลงดาบขายห้องชุดชำรุดสั่งจ่ายผู้บริโภค19ล้าน
29 พ.ย. 2566

วันพุธที่ 29 พฤศจิกายน 2566 . ดร.พวงเพ็ชร  ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (คคบ.) ครั้งที่ 8/2566 ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพมหานคร

  จากการประชุมได้มีมติให้ดำเนินคดีกับผู้ประกอบธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 1 ราย (ทำสัญญาซื้อขายห้องชุด) และดำเนินคดีกับผู้ประกอบธุรกิจด้านสินค้าและบริการทั่วไป จำนวน 16 ราย

สั่งซื้อสินค้าผ่านเฟซบุ๊กได้ไม่ตรงตามที่โฆษณา ประเภท รองเท้าสลิปออนเพื่อสุขภาพ เครื่องแต่งกายชุดผ้าไทยแบบทอ กางเกงวอร์ม ทุเรียนพันธุ์นกหยิบ สั่งซื้อชุดเดรส เช่ารถยนต์ สั่งซื้อคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กผ่านเฟซบุ๊กได้ล่าช้า ทำสัญญาดูแลผู้สูงอายุ ทำสัญญาจองรถยนต์ นำรถยนต์เข้าซ่อม ซื้อคอร์สเสริมความงาม ซื้อคอร์ส

ดูดไขมัน ซื้อรายการนำเที่ยว และขอยกเลิกห้องพักเนื่องจากรัฐบาลให้ตรวจผลโควิด) รายละเอียด ดังนี้

    ดำเนินคดีกับผู้ประกอบธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์

กรณีผู้บริโภคทำสัญญาซื้อขายห้องชุดจากบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี  ภายหลังเข้าอยู่อาศัยพบว่าชำรุดบกพร่องหลายรายการ และบริษัทฯ ไม่จัดให้มีสาธารณูปโภคตามที่โฆษณา อาทิ ไม่จัดให้มี Lobby บริเวณโถงต้อนรับ ปัจจุบันพื้นที่ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นห้องซักผ้าแบบหยอดเหรียญ ไม่มี Skywalk

เป็นทางเดินเชื่อมระหว่างโครงการต่อไปยังสถานีรถไฟฟ้า ไม่มีสระว่ายน้ำ ฟิตเนส ไม่มีไฟฟ้าส่องสว่าง ผู้บริโภคจึงมีความประสงค์ขอยกเลิกสัญญาและให้บริษัทฯ รับซื้อห้องชุดคืน ต่อมาสำนักงานฯ ได้มีหนังสือแจ้งให้บริษัทฯ พิจารณาและบอกเลิกสัญญาแล้ว แต่บริษัทฯ เพิกเฉย ที่ประชุมจึงมีมติเห็นควรดำเนินคดีแพ่งแก่ผู้ประกอบธุรกิจ

เพื่อบังคับให้ชดใช้ดอกเบี้ยจากเงินที่พวกผู้ร้องแต่ละรายจ่ายเงินให้กับสถาบันการเงินในแต่ละคราวแต่ละงวด พร้อมทั้งให้ชำระดอกเบี้ยจดจำนองของธนาคารกรณีปิดบัญชี รวมถึงค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เช่น ค่าธรรมเนียมโอนห้องชุด ค่าจดจำนองห้องชุด และค่าไถ่ถอนจดจำนองห้องชุด ให้แก่พวกผู้ร้องทั้ง 10 ราย และให้ชดใช้เงิน

รวมจำนวน 18,380,075 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย

ดำเนินคดีกับผู้ประกอบธุรกิจด้านสินค้าและบริการ

1. กรณีผู้บริโภคสั่งซื้อสินค้าผ่านเฟซบุ๊กได้ไม่ตรงตามที่โฆษณาไว้ จำนวน 5 ราย โดยมติที่ประชุมเห็นควรดำเนินคดีแพ่งเพื่อบังคับให้คืนเงิน จำนวน 3,138 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย

2. กรณีผู้บริโภคเช่ารถยนต์ ต่อมาผู้บริโภคได้นำรถคันดังกล่าวส่งมอบคืนให้แก่บริษัทฯ

โดยไม่มีความเสียหายและเติมน้ำมันเต็มถัง แต่บริษัทฯ ปฏิเสธคืนเงินมัดจำ โดยมติที่ประชุมเห็นควรดำเนิน คดีแพ่ง เพื่อบังคับให้คืนเงิน จำนวน 5,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย

3. กรณีผู้บริโภคซื้อคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กผ่านเฟซบุ๊กได้ล่าช้า และบริษัทฯ แจ้งว่าการขนส่งสินค้ามีความล่าช้าเนื่องจากเป็นการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ผู้บริโภคติดตามทวงถามสินค้าดังกล่าว หลายครั้งตลอดระยะเวลา 1 ปี ต่อมาผู้บริโภคติดต่อไปยังบริษัทฯ เพื่อขอยกเลิกสัญญาและขอเงินจำนวนดังกล่าวคืนแต่ได้รับการบ่ายเบี่ยง โดยมติที่ประชุมเห็นควรดำเนินคดีแพ่งเพื่อบังคับให้คืนเงิน จำนวน 33,990 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย

4. กรณีผู้บริโภคทำสัญญาดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 2 ราย โดยผู้บริโภคได้ว่าจ้างบริษัทดูแลผู้สูงอายุ ภายหลังผู้สูงอายุเสียชีวิต ผู้บริโภคจึงขอเงินล่วงหน้าและเงินคงค้างคืน แต่ได้รับการปฏิเสธ โดยมติที่ประชุม เห็นควรดำเนินคดีแพ่ง เพื่อบังคับให้คืนเงิน จำนวน 393,670 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย

5. กรณีผู้บริโภคทำสัญญาจองรถยนต์ยี่ห้อมาสด้า ในงาน Motor Expo 2021 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี กับบริษัทแห่งหนึ่ง แต่บริษัทฯ ผิดสัญญาและละเมิดสิทธิของผู้บริโภค โดยมติ

ที่ประชุมเห็นควรดำเนินคดีแพ่งแก่ผู้ประกอบธุรกิจ และพนักงานขาย เพื่อบังคับให้คืนเงิน จำนวน 201,752 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย

6. กรณีผู้บริโภคนำรถยนต์เข้าซ่อมกับบริษัทแห่งหนึ่ง แต่บริษัทฯ ผิดสัญญาและละเมิดสิทธิของผู้บริโภค โดยมติที่ประชุมเห็นควรดำเนินคดีแพ่งเพื่อบังคับให้คืนเงิน จำนวน 4,066 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย

7. กรณีผู้บริโภคสั่งซื้อของเล่น Hot toys Loki Endgame กับบริษัทแห่งหนึ่ง แต่ทางบริษัทฯ

ไม่จัดส่งสินค้า โดยมติที่ประชุมเห็นควรดำเนินคดีแพ่งเพื่อบังคับให้คืนเงิน จำนวน 4,145 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย

8. กรณีผู้บริโภคซื้อคอร์สเสริมความงาม กับบริษัทแห่งหนึ่ง ได้ชำระราคาค่าบริการผ่านบัตรเครดิตให้แก่บริษัทฯ ครบถ้วนแล้ว ซึ่งในขณะทำสัญญาบริษัทฯ ได้ปิดกิจการลง ทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถ

ใช้บริการได้ โดยมติที่ประชุมเห็นควรดำเนินคดีแพ่งแก่ผู้ประกอบธุรกิจ พร้อมด้วยกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม เพื่อบังคับให้ร่วมกันคืนเงิน จำนวน 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย

9. กรณีผู้บริโภคซื้อคอร์สดูดไขมันราคาโปรโมชัน 1 ครั้ง แถม 1 ครั้ง กับคลินิกแห่งหนึ่ง เข้ารับบริการครั้งแรกและมีอาการบาดเจ็บ เป็นเหตุทำให้ได้รับความเป็นอันตรายต่อร่างกายจึงจะขอยกเลิกคอร์สและขอเงินคืน โดยมติที่ประชุมเห็นควรดำเนินคดีแพ่งเพื่อบังคับให้คืนเงิน จำนวน 350,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย

10. กรณีผู้บริโภคจำนวน 17 ราย ซื้อรายการนำเที่ยวกับบริษัทแห่งหนึ่ง ต่อมาไม่สามารถติดต่อบริษัทฯ เพื่อเดินทางตามรายการนำเที่ยวได้ ผู้บริโภคจึงมีความประสงค์ขอคืนเงินที่ชำระไปแล้วทั้งหมด

โดยมติที่ประชุมเห็นควรดำเนินคดีแพ่งแก่ผู้ประกอบธุรกิจ พร้อมด้วยกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม  เพื่อบังคับ

ให้ร่วมกันคืนเงินให้แก่ผู้บริโภคจำนวนหลายราย พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย

11. กรณีผู้บริโภคจองที่พักกับโรงแรมแห่งหนึ่ง ต่อมารัฐบาลได้มีประกาศมาตรการ

ให้ผู้เดินทางที่เดินทางเข้าประเทศไทยต้องแสดงผลตรวจ COVID-19 โดยวิธี RT-PCR โดยไม่ต้องกักตัว ผู้บริโภค จึงติดต่อไปยังโรงแรมฯ เพื่อขอยกเลิกเข้าพัก และได้รับแจ้งว่ายินดีคืนเงิน โดยขอหัก 10% ปัจจุบันยังไม่ได้รับเงินคืน โดยมติที่ประชุมเห็นควรดำเนินคดีแพ่งแก่ผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อบังคับให้คืนเงิน จำนวน 11,250 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย

 จากการประชุมได้มีมติให้ดำเนินคดีกับผู้ประกอบธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ (1 ราย) และดำเนินคดีกับผู้ประกอบธุรกิจด้านสินค้าและบริการทั่วไป (16 ราย) โดยได้มีการดำเนินคดีแพ่งแก่ผู้ประกอบธุรกิจที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภค รวมจำนวน 17 ราย เพื่อให้คืนเงินแก่ผู้บริโภค เป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น ๑๙,๕๘๗,๐๘๖ บาท (สิบเก้าล้านห้าแสนแปดหมื่นเจ็ดพันแปดสิบหกบาทถ้วน) พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมายและเสนอเรื่องต่อศาลเพื่อสั่งให้บริษัทดังกล่าว รวมถึงผู้มีอำนาจลงนามจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากจำนวนค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนดตามที่เห็นสมควร

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 พฤษภาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...