ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
เปิดข้อมูล 10 ‘จังหวัดยากจน’ ล่าสุด พบ 6 จังหวัดเจอปัญหา ‘ยากจนเรื้อรัง‘
17 ธ.ค. 2566

สภาพัฒน์" เปิดรายงานสถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2565 สะท้อนการแก้ปัญหายากจนเชิงพื้นที่ยังไม่สำเร็จ หลังหลายจังหวัดเจอปัญหาความยากจนต่อเนื่อง 6 ใน 10 จังหวัดยากจนที่สุดเจอปัญหายากจนเรื้อรัง สวนทางตัวเลขความเหลื่อมล้ำลดลง

เมื่อเร็วๆนี้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกับธนาคารโลก (World Bank) จัดประชุมเรื่อง Bridging The Gap : Thailand’s Path to Inclusive Prosperity เพื่อเผยแพร่รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2565 โดยในภาพรวมของสถานการณ์ความยากจนและเหลื่อมล้ำของประเทศไทย ปี 2565 โดยชี้ว่าสถานการณ์ความยากจนปรับตัวดีขึ้น สัดส่วนคนจนลดลงจาก 6.32% ในปี 2564 มาอยู่ที่ 5.43% ในปี 2565 หรือมีคนจน จำนวน 3.8 ล้านคน

อย่างไรก็ตาม ความยากจนและความเหลื่อมล้ำดูเมื่อดูจากสัดส่วนคนจนจำแนกรายภูมิภาคพบว่าภูมิภาคที่มีปัญหาความยากจนรุนแรงมากที่สุด ได้แก่ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ตามลำดับดังนี้

  • ภาคใต้มีสัดส่วนคนจนสูงที่สุด 9.30%ของประชากรในแต่ละภาค
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7.81%ของประชากรในแต่ละภาค
  • ภาคเหนือ 6.8% ของประชากรในแต่ละภาค

หากเปรียบเทียบกับปี 2564 พบว่า สัดส่วนคนจนในแต่ละภูมิภาคปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ยกเว้นเพียงกรุงเทพมหานคร ที่มีสัดส่วนคนจนเพิ่มขึ้น1.37% จาก 0.57% และภาคเหนือ เพิ่มเป็น 6.80 % จาก  6.77% โดยแนวโน้ม

คนจนเพิ่มจากเงินเฟ้อสูง

โดยตามรายงานให้ข้อสังเกตการปรับตัวเพิ่มขึ้นของสัดส่วนคนจนของกรุงเทพมหานครและภาคเหนือส่วนหนึ่งเป็นผลจากระดับอัตราเงินเฟ้อที่ค่อนข้างสูง ส่งผลให้ค่าครองชีพโดยรวมมีแนวโน้มสูงขึ้นเช่นกัน

โดยสะท้อนได้จากเส้นความยากจนของกรุงเทพมหานครและภาคเหนือที่มีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่น ส่งผลให้ครัวเรือนมีโอกาสที่จะกลายเป็นครัวเรือนยากจนได้มากขึ้น

รวมทั้งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในหลายสาขายังไม่สามารถกลับสู่สภาวะปกติอย่างเต็มที่และไม่สามารถกระจายผลโยชน์ทางเศรษฐกิจได้ชัดเจน เช่น ภาคเกษตรกรรมมีการจ้างงานลดลงจากปี 2564 ภาคการท่องเที่ยว ซึ่งจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟู

สำหรับข้อมูลของคนยากจนรายจังหวัดในรายงานฉับนี้ พบว่าจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุด 10 อันดับแรกในปี 2565 ได้แก่

  1. แม่ฮ่องสอน
  2. ปัตตานี
  3. ตาก
  4. นราธิวาส
  5. กาฬสินธุ์
  6. หนองบัวลำภู
  7. ยะลา
  8. ศรีสะเกษ
  9. ชัยนาท
  10. ระนอง

 ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าบางจังหวัดที่กำลังเผชิญปัญหา “ยากจนเรื้อรัง” โดยจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงที่สุด ในปี 2565 และติดอยู่ใน 5 อันดับแรกของจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุดต่อเนื่องกัน 19 ปี ตั้งแปี 2545 อยู่ในอันดับที่ 9) สะท้อนให้เห็นปัญหาความยากจนเรื้อรัง

6 จังหวัดเจอยากจนเรื้อรัง

นอกจากนี้ หากพิจารณาจาก 10 จังหวัดแรกที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุด ในปี 2565 พบว่า 6 ใน 10 จังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุดมักจะติดอยู่ใน 10 อันดับแรกของจังหวัดที่มีความยากจนสูงที่สุดในปีอื่น ๆ ด้วย กล่าวคือ มีแนวโน้มเผชิญ

ปัญหาความยากจนเรื้อรัง โดยจังหวัดที่กำลังเผชิญปัญหาดังกล่าว ได้แก่

  • แม่ฮ่องสอน
  • นราธิวาส
  • กาฬสินธุ์
  • ปัตตานี
  • ตาก
  • ศรีสะเกษ

แม่ฮ่องสอนติดอันดับยากจนต่อเนื่องหลายปี

ทั้งนี้หากพิจารณาเฉพาะจังหวัดที่ติด 10 อันดับแรกของจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงที่สุดในตลอดช่วงปี 2543 - 2565 พบว่า ในช่วง 23 ปีที่ผ่านมา มีจำนวน 36 จังหวัดที่เคยติดอยู่ใน 10 อันดับแรกของ จังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงที่สุด โดยจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดที่เคยอยู่ใน 10 อันดับดังกล่าวบ่อยที่สุด

ในขณะที่ จังหวัดบุรีรัมย์และสระแก้วค่อนข้างสะท้อนให้เห็นแนวโน้มพัฒนาการในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน

17เพราะเป็นจังหวัดที่เคยติดอยู่ใน 10 อันดับแรกมามากกว่า 10 ปี แต่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2563 - 2565)ทั้งสองจังหวัดไม่ติดอยู่ใน 10 อันดับแรกของจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงที่สุด

 

นอกจากนี้ 2 ใน 3 ของจังหวัดที่เคยติด 10 อันดับแรก เป็นเพียงการติดอันดับแบบชั่วคราวเท่านั้น คือติดอันดับเพียงแค่ 1 - 3 ปี ซึ่งอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจหรือสังคมในพื้นที่อย่างกะทันหันจึงทำให้ระดับความยากจนเพิ่มสูงขึ้นอย่างฉับพลัน

ชี้การจัดสรรงบประมาณจังหวัดยังไม่แก้ปัญหา

อย่างไรก็ตามในรายงานฉบับนี้ได้สะท้อนปัญหาความยากจนเรื้อรังมาจากปัญหาหลายด้าน โดยส่วนหนึ่งคือนโยบายการจัดสรรงบประมาณยังไม่สะท้อนผลลัพธ์ด้านการกระจายทรัพยากรและ การพัฒนาไปยังพื้นที่อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์ส่งเสริมการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ ที่ครอบคลุมการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในทุกมิติ ซึ่งยังไม่ตอบโจทย์การบูรณาการแก้ไขปัญหาความยากจนระดับพื้นที่

เช่นจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปัตตานี ติดอยู่ใน 5 อันดับแรกของจังหวัด ที่มีสัดส่วนคนจนสูงที่สุด แต่อยู่ในกลุ่มที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณต่ำที่สุด 5 อันดับแรก สะท้อนให้เห็นว่า เกณฑ์การจัดสรรงบประมาณยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนในจังหวัดเท่าที่ควร เนื่องจากเน้นไปที่องค์ประกอบด้านผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) จำนวนประชากร และขนาดพื้นที่ ทำให้ จังหวัดขนาดใหญ่ได้รับงบประมาณสูง ส่งผลให้จังหวัดขนาดเล็กและอยู่ในพื้นที่ห่างไกลได้รับการจัดสรรงบประมาณน้อย ซึ่งหากจังหวัดที่มีปัญหาความยากจน ไม่ได้รับการกระจายทัรัพยากรและการพัฒนาที่ตรงจุดจะมีความเสี่ยงที่ทำให้ติดอยู่ในจังหวัดยากจนเรื้อรัง

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...