ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
เปิดผลงานควิกวิน99วันก.พาณิชย์ยุคภูมิธรรม
27 ธ.ค. 2566

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แถลงผลการดำเนินงาน Quick Win 99 วัน กระทรวงพาณิชย์ โดยระบุว่า ภายใต้สภาพจำกัด ไม่มีงบประมาณปี 2567 ใช้เพียงงบฯประจำนั้น ในช่วง 99 วันที่ผ่านมา ได้เสนอ 7 นโยบายเร่งด่วน กำหนดเป้าเป็น 3 ระยะ 15 เป้าหมาย ภายใน 99 วัน ได้เป็น 3 ซ่อม เพื่อลดช่องว่าง , 8 สร้าง เพื่อต่อเติม และ 4 เสริม เพื่อยั่งยืน ได้แก่

ระยะที่ 1 “3 ซ่อม เพื่อลดช่องว่าง” ให้คนตัวเล็กทั้งประชาชน เกษตรกร ผู้ประกอบการ ลดค่าครองชีพ เข้าถึงแหล่งวัตถุดิบ พยุงราคาสินค้าเกษตร เสริมความเข้มแข็งในการค้าขาย

  1. ลดค่าครองชีพ จำหน่ายสินค้าราคาประหยัด ผ่าน 5 กิจกรรมหลักทั่วประเทศ ลดสูงสุดกว่า 82% ลดค่าครองชีพไปแล้วกว่า 7,758 ล้านบาท ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ 12,000 ล้านบาท
  2. ช่วยเหลือเกษตรกร ทั้งการให้สินเชื่อและชดเชยดอกเบี้ยในการเก็บสต๊อก และเงินช่วยเหลือไร่ละ 1,000 บาทแก่ชาวนา ชดเชยดอกเบี้ยในการเก็บสต๊อก สินเชื่อเพื่อรวบรวมเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกและการแปรรูปให้กับชาวไร่มันสำปะหลังและข้าวโพด ช่วยสนับสนุนค่าบริหารจัดการสต๊อกในประเทศให้กับชาวสวนปาล์มน้ำมัน ทั้งนี้ มีการเชื่อมโยงผลผลิตทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศในช่วง 99 วันที่ผ่านมาไปแล้วกว่า 3,369 ล้านบาท กระจายผลผลิตกว่า 9,000 ตัน
  3. ช่วยผู้ประกอบการอำนวยความสะดวกการค้า ทำให้เป็น E-Government ใช้เทคโนโลยีบริการประชาชนคาดว่าช่วยผู้ประกอบการได้กว่า 1,250,000 คน โดยพัฒนาระบบจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาทา อิเล็กทรอนิกส์ การเพิ่มช่องทางจดทะเบียนบริษัทจำกัดมหาชนออนไลน์ การออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าได้ด้วยตนเอง และแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคและไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน 8 ฉบับ และหาช่องทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ ผ่าน 77 กิจกรรมสร้างมูลค่ารวม 20,838 ล้านบาท พร้อมทั้งเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ผ่าน 22 กิจกรรม อาทิ ขายลิขสิทธิ์เพลงฟรีแก่ผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิก สสว. 3 เดือน และมอบส่วนลดพิเศษ 50 - 55% และกิจกรรมใช้กลยุทธ์ซอฟต์พาวเวอร์ของไทย การอบรมเพิ่มทักษะองค์ความรู้ผู้ประกอบการ ใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าเพื่อขยายตลาด จาก FTA เป็นต้น

ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

ระยะที่ 2 “8 สร้าง เพื่อต่อเติม” ปรับฐานเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรและผู้ประกอบการ บริหารต้นทุน แปรรูปผลผลิตเพิ่มช่องทางการแข่งขันทางการตลาด สร้างแต้มต่อ เพื่อรองรับบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลง

  1. สร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานราก วางแผนกระจายสินค้าเกษตรล่วงหน้าผ่านช่องทางใหม่ๆ ควบคุมและจัดสรรต้นทุนสินค้าที่จำเป็นให้เกษตรกรช่วยลดต้นทุน
  2. สร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการในการแข่งขัน เชื่อมโยงเครือข่าย SMEs ให้บริการข้อมูลเชิงลึกด้านการพาณิชย์ 
  3. สร้างกลไกพาณิชย์จังหวัด ทูตพาณิชย์และทีมไทยแลนด์ ร่วมมือกันขยายตลาดไปต่างประเทศรองรับนโยบายทีมไทยแลนด์ของรัฐบาล
  4. สร้างยุทธศาสตร์การค้าชายแดน/ผ่านแดน ตั้งศูนย์บริการค้าชายแดนเบ็ดเสร็จจุดเดียว (One Stop Service:OSS) 8 จังหวัด
  5. สร้างยุทธศาสตร์การส่งออกให้สอดคล้องกับบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ใช้นโยบายการทูตเศรษฐกิจเชิงรุก เจาะตลาดรายมณฑลและตลาดเมืองรอง เพิ่มช่องทางการส่งเสริมสินค้าไทย ผ่านร้าน Thai Select ทั่วโลก
  6. สร้างแต้มต่อทางการค้าด้วย FTA เร่งเจรจาตกลงการค้ากับประเทศคู่ค้าที่มีศักยภาพอย่างต่อเนื่อง ก.พ.67 นี้ จะมีการลงนาม FTA กับศรีลังกา ให้ GDP ไทยเพิ่มอีกร้อยละ 0.02 ต่อปี 
  7. สร้างอาชีพ สร้างโอกาสทางการค้าด้วยซอฟต์พาวเวอร์ ผ่านอาหารไทย ภาพยนตร์/เกม การท่องเที่ยวคุณภาพสูง หนังสือ แฟชั่น งานออกแบบ และการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการไทย
  8. สร้างความเข้มแข็งของธุรกิจด้วยนวัตกรรม 

ระยะที่ 3 “4 เสริม เพื่อยั่งยืน” เสริมความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง

  1. เสริมกลไกเพื่อรักษาระดับราคาสินค้าเกษตร อย่างครบวงจร วางแผนล่วงหน้าร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ
  2. เสริมยุทธศาสตร์ของหน่วยงานรองรับการเปลี่ยนแปลง 
  3. เสริมมาตรฐาน SMEs ไทย ส่งเสริมผู้ประกอบการต้นแบบที่ประสบความสำเร็จให้เป็นโมเดลกับรายใหม่ 
  4. เสริมขีดความสามารถทางการค้าไทย ได้กำหนดแผนเร่งรัดการส่งออกปี 2567 ผ่าน 417 กิจกรรม คาดว่าสร้างมูลค่าส่งออกกว่า 65,700 ล้านบาท

“ทั้งหมดคือผลงานของกระทรวงพาณิชย์ที่ทำมา 99 วัน ให้ประชาชนได้รับความพึงพอใจ ใช้เทคโนโลยีพัฒนาให้เศรษฐกิจการค้าให้ไปได้ดีมากขึ้น ขอบคุณทุกฝ่ายที่ช่วยกันผลักดัน จากนี้ไปจะเห็นผลงานที่มากขึ้นผลิดอกออกผล ให้ประชาชนเดินหน้าต่อไปอย่างมีความหวัง”

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 พฤษภาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...