ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
สมศักดิ์ดันโครงการโคแสนล้านปลดหนี้มีเงินเก็บจริง
28 ก.พ. 2567

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยระหว่างงานเสวนาสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเลี้ยงชีพ ภายใต้แนวคิด “เลี้ยงโค แก้หนี้ แก้จน ยกระดับคุณภาพชีวิต เกษตรกรไทย” ว่า

ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบโครงการ ‘โคแสนล้าน’ ของสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (กทบ.) ที่จะสนับสนุนเงินกู้ยืมให้เกษตรกรครอบครัวละ 50,000 บาท เพื่อใช้เลี้ยงโค 2 ตัว นำร่อง 500,000 ครัวเรือน

ทั้งนี้ เชื่อว่าโครงการนี้จะช่วยส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของประเทศ เพราะต้องยอมรับว่าประชาชนในต่างจังหวัดมีเวลาว่างจากการทำไร่ทำนาวันละ 3-5 ชั่วโมง ซึ่งสามารถนำเวลาว่างมาทำปศุสัตว์ เช่น วัว ที่โอกาสจะไม่ประสบความสำเร็จไม่มี และจะได้ไม่เสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์ โดยเราจะนำพลังงานนั้นมาทำให้เกิดเป็นเงิน และเป็นประโยชน์ต่อครอบครัว

ทั้งนี้ การส่งเสริมเลี้ยงโคของกองทุนหมู่บ้านฯ จะเริ่มด้วยเงิน 5 หมื่นบาท ให้เกษตรกรกู้ โดยมีดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้เสริม เพราะจากโครงการเลี้ยงวัวนำร่องที่จังหวัดสุโขทัยเริ่มต้นด้วยเงิน 5 หมื่นบาท ซื้อแม่พันธุ์วัว 2 ตัว ซึ่งผ่านมา 4 ปี เกษตรกรมีวัวเพิ่มเป็น 10 ตัวแล้ว โดยถ้าคิดเป็นมูลค่าวัวตัวละ 25,000 บาท หากมี 10 ตัว จะมีมูลค่าถึง 250,000 บาท และถ้าส่งเสริมเลี้ยง 1 ล้านครอบครัว ก็จะมีมูลค่าถึง 250,000 ล้านบาท

นอกจากการเลี้ยงวัวธรรมดาแล้ว ยังได้ส่งเสริมการพัฒนาเลี้ยงวัวที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น เช่น วัวโกเบ วัวบราห์มัน วัวทาจิมะ วัวแองกัส รวมถึงต่อยอดเป็นการเลี้ยงวัวกีฬา เพราะวัวธรรมดามีราคา 2.5-5 หมื่นบาท แต่วัวสายพันธุ์ดีมีราคาถึงตัวละ 2 แสนบาท

“การส่งเสริมเลี้ยงวัวยังเป็นการรองรับที่รัฐบาลช่วยสร้างโอกาสขยายตลาดการส่งออกโคไปต่างประเทศด้วย โดยเป็นการทำควบคู่กันไป รวมถึงถ้ามีการส่งเสริมเลี้ยงโค 1 ล้านครอบครัว ผ่านไป 4 ปี มีการวิเคราะห์ว่าจีดีพีจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1.4% ซึ่งจะช่วยส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศด้วย

นอกจากนี้ ยังมีงบประมาณตรวจเขตราชการ ในจังหวัดละ 10 ล้านบาท ซึ่งจะนำมาช่วยอบรมการแก้ปัญหาความยากจน และส่งเสริมอาชีพ เพราะสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน 13 ล้านคนส่วนใหญ่เป็นหนี้ จึงเน้นให้กองทุนหมู่บ้านฯ คิดโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโค เพื่อให้สมาชิกมีรายได้เพียงพอในการใช้หนี้ได้”

นายสมศักดิ์กล่าวอีกว่า การส่งเสริมอาชีพเลี้ยงวัวยังช่วยลดปัญหาการปล่อย Black Carbon ได้ด้วย เพราะวัวจะกินฟางวันละประมาณ 1 ก้อน ก้อนละ 15 กิโลกรัม และนาข้าว 1 ไร่ จะมีฟาง 650 กิโลกรัม ซึ่งหากเผาตอซังและฟางข้าว 1 กิโลกรัม จะผลิต Black Carbon ประมาณ 0.06 กรัม โดยหากคำนวณพื้นที่ปลูกข้าว 44 ล้านไร่ จะปลดปล่อย Black Carbon กว่า 29.15 ล้านตัน หรือ 29,150 ล้านกิโลกรัมต่อปี หากเปลี่ยนจากการเผานำไปเลี้ยงวัว จะสามารถลดอัตราปลดปล่อย Black Carbon ได้กว่า 1,749 ตัน หรือ 1,749,000 กิโลกรัมต่อปี

จากนี้ รัฐบาลจะส่งเสริมทำใบเพ็ดดีกรีให้กับสัตว์ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสัตว์ ซึ่งเป็นการนำของประเทศออสเตรเลียมาปรับใช้ ที่มีการเลี้ยงม้าแข่ง ทำให้ตัวแชมป์มีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านเหรียญ หรือ 350 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังได้เตรียมร่างกฎหมายส่งเสริมปศุสัตว์ด้วย เพราะปัจจุบันมีการแข่งขันถูกกฎหมาย ทั้งม้า-วัว แต่ภาครัฐไม่ได้ภาษีเข้ารัฐ จึงทำกฎหมาย เพื่อให้เงินเหล่านั้นสามารถกลับมาเป็นประโยชน์กับประชาชน เพราะทุกวันนี้ กีฬาสัตว์ถูกกฎหมาย แต่ภาครัฐไม่ได้ประโยชน์

ดังนั้น ต้องนำกฎหมายเข้ามา ซึ่งเป็นการสร้างภูมิคุ้มกัน และส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยเป็นการทำให้ครบวงจร เพราะไม่อย่างนั้นประชาชนต่างจังหวัดจะถูกทิ้งห่างไปเรื่อย ๆ พร้อมขอยืนยันว่าจะไม่สนับสนุนการเล่นพนัน แต่สนับสนุนการเลี้ยงสัตว์ เพื่อสร้างรายได้

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...