ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ธรรมาภิบาล ย้อนกลับ
โครงการ1ตำบล 1ทนายความนำร่อง14อบต.เริ่มที่ลพบุรี
03 เม.ย. 2567

     เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2567  เวลา 13.00 น. ที่ห้องประชุมชั้น 4 สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์  สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ร่วมกับสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ร่วมแถลงข่าว การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย ใน “โครงการทนายความอาสา ให้คำปรึกษาประชาชน  1 ตำบล 1 ทนายความ”  เพื่อจัดส่งทนายความอาสาของสภาทนายความฯ ให้บริการปรึกษาแนะนำกฎหมายแก่ประชาชนที่มาติดต่อ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งจะมีการเริ่มนำร่อง โครงการ 1  ตำบล 1 ทนายความ ในองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 14 แห่ง  เพื่อทดลองและประเมินผลการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนสู่ชุมชน  โดยมี ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ รศ.วิระศักดิ์ ฮาดดา นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย นายสุชาติ ชมกุล อุปนายกฝ่ายกิจการพิเศษ  นายณรงค์ ปานสุวรรณ หัวหน้าคณะทำงาน โครงการทนายความอาสา ให้คำปรึกษาประชาชน  1 ตำบล 1 ทนายความ นางสาววาสนา สระทองหลางที่ปรึกษากฎหมาย สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ด.ต.รูสลาม อาแว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมูโนะ จังหวัดนราธิวาส นายซูลกีฟรี เจ๊ะมามะ นายกอบต.เลาะจูด นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเลาะจูด จังหวัดนราธิวาส อุปนายกสมาคมอบต.ภาคใต้ นายณัฐพล ทองไหล  นายกองค์การบริหารส่วนตำบล เตาปูน จังหวัดแพร่ นายกฤตภพ เฉื่อยฉ่ำ นายก อบต.ทับน้ำ จังหวัดอยุธยา นายวิชา ดาวแจ่ม  นายก อบต. หลักชัย จังหวัดอยุธยา นายยศเดโช เผ่าสุข นายก อบต.ซับตะเคียน จังหวัดลพบุรี นายณัฐ์ธเนศ มหาศักย์ศิริ นายก อบต. ดอนฉิมพลี จังหวัดฉะเชิงเทรา เข้าร่วมแถลงข่าว

 ด้าน ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ กล่าวว่า สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ร่วมกับสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ซึ่งจะมีการเริ่มนำร่อง โครงการ 1  ตำบล 1 ทนายความ ในองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 14 แห่ง  เพื่อทดลองและประเมินผลการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนสู่ชุมชน เราต้องการที่จะให้ประชาชนได้รับประโยชน์เช่นการให้คำปรึกษาความช่วยเหลือประชาชนโดยเฉพาะประชาชนรากหญ้าอยู่ในถิ่นทุรกันดาร ซึ่งทางนายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลเเห่งประเทศไทย เเละสภาทนายความได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ จึงจัดให้มีทนายความอาสาที่ให้คำปรึกษากฎหมาย 1ตำบล 1ทนายความ ซึ่งสภาทนายความได้เคยมีข้อตกลงหรือแนวคิดดังกล่าวมาเเล้ว จึงได้นำมาสู่การเริ่มต้น โดยจะมีการนำร่องใน 14 อบต. โดยเริ่มจากลพบุรี และสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

 “ในระยะยาวเรา ตั้งใจจะให้มีทนายความทุกอบต.แต่ตอนนี้ยังไม่สามารถทำได้เพราะยังติดขัดปัญหาข้อกฎหมาย  ซึ่งเราก็ได้มีการนำเรื่องนี้เข้าสู่ กมธ.ยุติธรรมของวุฒิสภา ซึ่งจะได้มีการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาพูดคุยในเรื่องนี้ว่าจะสามารถจ่ายงบประมาณในส่วนนี้ได้หรือไม่ คาดว่าไม่ช้าก็จะเรียบร้อย ดีแต่ในตอนนี้เรารอช้าไม่ได้เพราะมีผู้ได้รับความเสียหายจำนวนมาก เพราะผู้เสียหายจะได้มาปรึกษากับทนายความเบื้องต้นเพื่อไม่ให้ความเดือดร้อนเสียหายลุกลาม และเป็นการป้องกันการก่อเหตุจากความไม่รู้ และป้องกันประชาชนถูกหลอกจากมิจฉาชีพ”

 สำหรับโครงการนำร่อง จะมีทนายอาสาไปนั่งให้คำปรึกษาเดือนละ 2 ครั้ง โดยมีค่าตอบแทนต่อครั้ง เป็นค่าเบี้ยเลี้ยง 1,000 บาท และค่าพาหนะ 1,000บาท โดยเป็นเงินส่วนตัวของนายก อบต.ต่างๆที่พร้อมโดยจะเริ่มครั้งแรกในเดือน พฤษภาคมที่จังหวัดลพบุรี 10 อบต.ทดลองก่อน 1 ปี แต่ถ้าต่อไปมีการเเก้ระเบียบให้งบประมาณตอนจ่ายเงินได้เมื่อไหร่ก็จะเป็นโครงการระยะยาวต่อไป

 รศ.วิระศักดิ์ ฮาดดา นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมา สภาทนายความได้จัดส่งทนายความไปให้ความช่วยเหลือ สมาคม อบต. แห่งประเทศไทย จนทำ MOU ร่วมกัน ถือว่าเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์แก่พี่น้องประชาชน จึงเริ่มทำโครงการดังกล่าว ซึ่งในด้านงบประมาณทางท้องถิ่นจะหาเอง แต่ถ้าเป็นไปได้จะประสานงานหน่วยงานของรัฐ เพื่อจะมาเป็นค่าดำเนินการของตัวแทนทนายความอาสา ซึ่งนับว่าเป็นงบประมาณที่น้อยมาก  กับประโยชน์ เพราะถ้าเรามีทนายความไปประจำอยู่ที่อบต.ต่อไปก็จะช่วยแก้ไขปัญหาข้อกฎหมายให้ประชาชนได้

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...