ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
สธ.จัดทีม SEhRT เฝ้าระวังผลกระทบสุขภาพ-คุณภาพ แม่น้ำโขง หลังเกิดเหตุกรดซัลฟิวริก รั่วไหลที่ลาว
06 เม.ย. 2567

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข มอบหมายกรมอนามัยจัดทีมอนามัยสิ่งแวดล้อมหรือทีม SEhRT ติดตามเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ “แม่น้ำโขง” และน้ำประปา รวมถึงผลกระทบทางสุขภาพ หลังเกิดเหตุรถบรรทุกพลิกคว่ำที่ สปป.ลาว ทำกรดซัลฟิวริกกว่า 30 ตันรั่วไหลลงแม่น้ำ
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากกรณีสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ประกาศเตือนให้เฝ้าระวังผลกระทบคุณภาพน้ำในแม่น้ำโขง หลังจากที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) แจ้งว่ามีอุบัติเหตุรถบรรทุกสารเคมีพลิกคว่ำ ส่งผลให้มี“กรดซัลฟิวริก” จำนวน 30 ตัน ไหลลงสู่แม่น้ำคาน บริเวณแขวงหลวงพระบาง เมื่อวันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา และจะไหลลงลุ่มน้ำโขงวันที่ 5 เมษายน ก่อนจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยบริเวณอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ช่วงวันที่ 8 - 10 เมษายน 2567 พร้อมกับมีการประกาศแจ้งเตือนให้จังหวัดที่ติดลุ่มน้ำโขง ได้แก่ เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ติดตามสถานการณ์คุณภาพน้ำและเฝ้าระวังผลกระทบจากคุณภาพน้ำในแม่น้ำโขง รวมถึงแจ้งเตือนประชาชนที่สัญจรและประกอบกิจกรรมในบริเวณแม่น้ำโขง การประมงสัตว์น้ำ รวมทั้งผู้ที่อาศัยในพื้นที่บริเวณดังกล่าว
          นพ.โอภาสกล่าวต่อว่า ผลกระทบต่อสุขภาพของกรดซัลฟิวริกนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นอันตรายจากสัมผัสกรดที่มีความเข้มข้นสูง มีฤทธิ์กัดกร่อนทำให้เนื้อเยื่อต่างๆ เสียหาย ซึ่งแนวทางแก้ไขปัญหา แม้เบื้องต้นประเทศไทยจะมีการประสาน สปป.ลาว ในการบริหารจัดการน้ำเขื่อนไชยะบุรี เพื่อเจือจางสารเคมีแล้ว ซึ่งคาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพแม่น้ำโขงในประเทศไทย แต่เพื่อความมั่นใจในความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่ จึงได้มอบหมายให้กรมอนามัยประสานจัดทีมปฏิบัติการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมรองรับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (ทีม SEhRT) ในพื้นที่ รับผิดชอบประเมินความเสี่ยงการปนเปื้อนของกรดซัลฟิวริกในแม่น้ำโขง เฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพของคนในพื้นที่ รวมถึงเฝ้าระวังน้ำประปาในชุมชนและประปาหมู่บ้านในจังหวัดดังกล่าว พร้อมทั้งสื่อสารให้ความรู้แนวทางการปฏิบัติตัวแก่ประชาชนในพื้นที่ ซึ่งหากสัมผัสแหล่งน้ำแล้วมีอาการระคายเคือง ผิวหนังไหม้ ปวดแสบปวดร้อน เกิดแผลพุพอง หรือตาพร่ามัว ตาแดง น้ำตาไหล ขอให้รีบไปพบแพทย์เพื่อประเมินอาการและทำการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...