ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
กระทรวงเกษตรฯ อัดงบ 765 ล้าน พัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง แก้ภัยแล้ง น้ำท่วมอีสาน
21 เม.ย. 2567

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เตรียมผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ด้วยงบประมาณ 765 ล้านบาท พื้นที่รับประโยชน์กว่า 11,000 ไร่ หวังเป็นแหล่งน้ำต้นทุน บรรเทาภัยแล้ง น้ำท่วมภาคอีสาน

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ติดตามการดำเนินการก่อสร้างโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม 3 แห่ง 

รมว.เกษตรฯ กล่าวว่า ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด โดยส่วนมากประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากปริมาณฝนในฤดูแล้งที่ตกน้อย ปริมาณน้ำต้นทุนที่กักเก็บโดยโครงการพัฒนาแหล่งน้ำต่างๆ ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน จึงได้วางแผนพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดมาอย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้ได้อนุมัติโครงการเพิ่มเติมอีก 3 แห่ง ตามที่โครงการชลประทานร้อยเอ็ดได้เสนอ เพื่อแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ขณะเดียวกัน ได้มอบหมายให้กรมชลประทาน เร่งรัดการดำเนินงานให้ทันภายในปีนี้ เพื่อให้สามารถใช้เก็บกักน้ำเป็นแหล่งน้ำต้นทุน สำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภคและการเกษตร ช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วมภาคอีสาน

 

สำหรับแผนงานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 3 แห่ง รวมพื้นที่รับประโยชน์กว่า 11,000 ไร่ งบประมาณรวม 765 ล้านบาท มีดังนี้ อำเภอโพนทอง จำนวน 2 โครงการ คือ 

1. โครงการแก้มลิงบึงมะอึ พร้อมอาคารประกอบ ต.สระนกแก้ว อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด ซึ่งสภาพพื้นที่บึงมะอึ เป็นหนองน้ำธรรมชาติ มีพื้นที่ประมาณ 470 ไร่ ความลึกเฉลี่ย 2 – 3 เมตร ปัจจุบันมีสภาพตื้นเขิน และฝายเดิมมีสภาพชำรุดเสียหาย ทำให้ไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ได้ งบประมาณดำเนินโครงการ 35 ล้านบาท โดยใช้งบเหลือจ่ายปี 2567 เมื่อดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ จะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเป็นแหล่งน้ำสำหรับการอุปโภค-บริโภคและการเกษตร พื้นที่รับประโยชน์ ประมาณ 500 ไร่ เพิ่มปริมาณเก็บกัก 400,000 ลูกบาศก์เมตร

2. โครงการประตูระบายน้ำลำน้ำยัง (กุดก่วง) ต.สามัคคี อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด เป็นการก่อสร้างประตูระบายน้ำในลำน้ำยัง ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของอำเภอโพนทอง ในช่วงฤดูฝนมีปริมาณน้ำมากเอ่อล้นตลิ่งท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ ปลายฤดูฝนไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งได้ ส่งผลให้ราษฎรในพื้นที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ โดยกรมชลประทาน มีแผนงานในการดำเนินงาน 4 ปี (ปี 2568 -2571) งบประมาณ 695 ล้านบาท เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ จะสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ป้องกันและบรรเทาอุทกภัยในลำน้ำยังในช่วงฤดูฝน เป็นแหล่งน้ำสนับสนุนพื้นที่การเกษตรและน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภค พื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 10,000 ไร่

3. สร้างอาคารบังคับน้ำห้วยแดง ต.บุงเลิศ อ.เมยวดี จ.ร้อยเอ็ด เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ โดยลำห้วยแดง เป็นลำน้ำที่แบ่งเขตระหว่าง จ.ร้อยเอ็ด และ จ.กาฬสินธุ์ ปัจจุบันมีความเสียหายจากการถูกน้ำกัดเซาะ ทำให้ไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ได้ งบประมาณ 35 ล้านบาท ระยะเวลาในการก่อสร้าง 1 ปี เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ จะสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ป้องกันและบรรเทาอุทกภัยในช่วงฤดูฝน เป็นแหล่งน้ำสนับสนุนพื้นที่การเกษตรและน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภค ในพื้นที่ ต.บุ่งเลิศ พื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 500 ไร่ เพิ่มปริมาณเก็บกัก 100,000 ลูกบาศก์เมตร รวมถึงเป็นการปรับปรุงฟื้นฟูลำน้ำธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพในการเก็บกักน้ำ และรักษาระบบนิเวศของลำห้วยแดงอีกด้วย

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 พฤษภาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...