ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
ลพบุรี โมเดลพัฒนากลุ่มสตรี สร้างโอกาสให้หญิงไทย
16 พ.ย. 2561

สำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี เกาะติดความคืบหน้าภารกิจส่งเสริมศักยภาพและบทบาทผู้หญิง สร้างความเท่าเทียมในสังคม ลงพื้นที่ลพบุรี ชม 2 โครงการตัวอย่าง หลังกู้เงินกองทุนฯ สร้างงาน-สร้างอาชีพ 

 นายปรีชา กิตติสัตยกุล ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี กล่าวว่า ปัจจุบันสังคมให้ความสำคัญกับสิทธิและความเสมอภาคของสตรีมีมากขึ้น “กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี” จึงเป็นช่องทางการส่งเสริมศักยภาพและบทบาทของสตรี พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้มีการรวมกลุ่มเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชนและเข้าถึง    แหล่งทุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำร้อยละ 3 ต่อปี วงเงินสูงสุดโครงการละ 200,000 บาท เพื่อนำไปประกอบอาชีพ  สร้างงาน สร้างรายได้ โดยมอบหมายให้สำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี (สกส.) กรมการพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานหลักขับเคลื่อนภารกิจ            

ปัจจุบันกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีมีสมาชิกทั้งหมด 12.9 ล้านคน จากสตรีทั้งหมด 22 บ้านคน หรือประมาณ 70% และตั้งเป้าไว้อีก 5 ปี จะมีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็น 15 ล้านคน
“ในปีงบประมาณ 2562 กองทุนฯ ได้รับจัดสรรงบประมาณประเภทเงินทุนหมุนเวียน 1,478,000,000 บาท และประเภทเงินอุดหนุน 295,000,000 บาท เพื่อนำมาขับเคลื่อนภารกิจการส่งเสริมศักยภาพและบทบาทของสตรีในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ โดยคาดว่าจะเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้สมาชิกและครอบครัวได้เฉลี่ย 7,000–10,000 บาท" 
ทั้งนี้ ในปี 2561 ที่ผ่านมา ได้รับการจัดสรรงบประมาณเป็นเงิน 20,000,000 บาท มีการเบิกจ่ายเป็นเงิน 16,179,272 บาท โดยเป็นการลงทุนประกอบอาชีพที่หลากหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรรม หัตถกรรม อุตสาหกรรมในครัวเรือน และคหกรรม ซึ่งล้วนช่วยให้สมาชิก มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งในแง่เศรษฐกิจ รายได้ การยอมรับจากสังคม และสถาบันครอบครัวที่อยู่พร้อมหน้าลดปัญหาการอพยพย้ายถิ่น สำหรับต้นแบบกลุ่มสตรีจังหวัดลพบุรี 2 กลุ่ม ได้แก่ โครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มปั้นลิง ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ต.ยางโทน อ.บ้านหมี่  มี นางวิภาพร จันทรรัตน์ เป็นประธาน มีสมาชิกเริ่มแรก 5 คน แต่ปัจจุบันเพิ่มเป็น 17 คน โดยกลุ่มได้รับการสนับสนุนเงินกู้ประเภท ทุนหมุนเวียนจากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 200,000 บาท สมาชิกร่วมลงหุ้นๆ ละ 10 บาท ปัจจุบันมีเงินหุ้นสะสม 9,550 บาท มีเงินทุนหมุนเวียน 95,500 บาท มีการปันผลจากผลกำไรให้สมาชิกปีละ 10%  นอกจากนี้ยังทำให้สมาชิกมีรายได้เสริมเฉลี่ย 300 บาท/วัน/คน 
 และกลุ่มทอผ้ามัดหมี่ไทยพวน ตั้งอยู่หมู่ที่ 10 ต.หินปัก อ.บ้านหมี่ มี นางละม่อม พานทอง เป็นประธาน สมาชิกเริ่มแรก 5 คน ปัจจุบันเพิ่มเป็น 60 คน โดยได้กู้เงินทุนหมุนเวียนจากกทองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 75,000 บาท แต่ได้ชำระคืนจนครบถ้วนแล้ว ขณะที่สมาชิกร่วมลงหุ้นๆ ละ 100 บาท มีเงินทุนหมุนเวียน 600,000 บาท มีการปันผลจากผลกำไรให้สมาชิกทุกปี 10% และสมาชิกยังมีรายได้เสริมเฉลี่ย 2,500 บาท/เดือน/คน โดยในปี 2561 ได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีในระดับจังหวัดอีกด้วย 
 ปัจจัยที่ส่งเสริมให้ทั้ง 2 กลุ่มประสบความสำเร็จ นอกจากจะมีการบริหารจัดการภายในที่ดีและความร่วมแรงร่วมใจของสมาชิกแล้ว ยังได้รับการสนับสนุนทั้งโดยตรงและโดยอ้อมจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนใน จ.ลพบุรี ถือเป็นกรณีตัวอย่างที่สะท้อนถึงการใช้พลังประชารัฐมาสร้างความร่วมมือร่วมใจในการขับเคลื่อนสังคม

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 มีนาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...