ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
สื่อสาร - คมนาคม ย้อนกลับ
กสทช.หวั่นไม่มีคนประมูล 5G จูงใจผ่อนไลเซนส์ 15 ปี
04 ม.ค. 2562

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า สิ่งที่ กสทช.จะทำเพื่อให้มั่นใจว่า 5G จะเกิดขึ้นในปี 2563-2564 หากมีการจัดสรรคลื่นได้ตามโรดแมป คือการแก้ไขหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นใหม่ ซึ่งต้องมีการประเมินมูลค่าคลื่น 5Gใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริงมากที่สุด แต่อยู่บนฐานว่า รัฐต้องไม่เสียประโยชน์

ดังนั้น งวดการจ่ายเงินควรจะยืดออกไปเป็น 10 ปี หรือ 15 ปีเท่ากับอายุใบอนุญาต จากเดิมที่งวดการชำระค่าใบอนุญาตอยู่ที่ 4-6 ปี เพื่อให้เอกชนมีความสามารถในการเข้ามาประมูล และเป็นการจูงใจให้มีผู้เข้าร่วมประมูล

นอกจากนี้ ต้องมีการเปลี่ยนหลักเกณฑ์การประมูล จากเดิมกำหนดเป็นใบอนุญาตที่ให้บริการได้ทั่วประเทศ เปลี่ยนเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ในพื้นที่ขนาดย่อมแล้วแต่ภาคการผลิต เฉพาะพื้นที่ให้บริการไปพรางก่อน เช่น พื้นที่เศรษฐกิจ หัวเมืองสำคัญ หรือในภาคการผลิตในส่วนของนิคมอุตสาหกรรม โดยสำนักงาน กสทช. จะเร่งปรับรูปแบบของคลื่นความถี่ใหม่ การอนุญาตในรูปแบบใหม่ เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างรัฐและเอกชนมากขึ้น ช่วยให้ภาคเอกชนสามารถลดต้นทุนได้

นายฐากร กล่าวว่า การจะผลักดันให้เกิด 5G ในประเทศมาจาก 2 ส่วน คือ ภาครัฐ 20% และเอกชน 80% โดยในส่วนที่เป็นหน้าที่ภาครัฐก็จะพยายามอำนวยความสะดวก และให้เอกชนจูงใจให้เข้ามาลงทุนได้อย่างสบายใจ และสามารถอยู่รอดได้ในทางธุรกิจ ซึ่งที่ผ่านมา สำนักงาน กสทช.จัดประมูลในย่านความถี่ต่างๆ ตั้งแต่ปี 2556 สามารถนำส่งรายได้ให้แก่รัฐมากถึง 361,032 ล้านบาท

“3 องค์ประกอบการสำคัญของ 5G คือ ต้องมีความเร็วกว่า 4G ถึง 15 เท่า หากการให้บริการ 5G มีความแพร่หลายการใช้งานแล้วจะมีความเร็วมากถึง 100 เท่า ขณะที่การเชื่อมต่ออุปกรณ์ใน 1 ตารางกิโลเมตรปกติไม่เกิน 1 แสนชิ้น แต่ 5G จะเชื่อมต่อได้มากกว่า 1 ล้านชิ้น”

อย่างไรก็ตาม หาก 5G ไม่เกิดขึ้น สำนักงาน กสทช. ได้วิเคราะห์ว่า ภาคการผลิต และอุตสาหกรรม จะสูญเสียโอกาสมากกว่า 7 แสนล้านบาท ถึง 1.6 ล้านล้านบาท ซึ่งภาคการผลิตจะกระทบหนักสุด เพราะต้นทุนสูงขึ้น แต่มูลค่าเพิ่มทางการผลิตต่ำลง ประเทศไทยจะเสียเปรียบในแง่การส่งออก การท่องเที่ยว ที่จะดึงเอาเทคโนโลยี AR-VR จะไม่เกิดขึ้น และภาคสาธารณสุข จะกระทบหนักขึ้น เพราะไม่สามารถลดภาระการเดินทางไปหาแพทย์ได้ด้วยการใช้เทคโนโลยี

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...