ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
รมว.สธ.จัดประชุมวิชาการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติพร้อมมอบรางวัล
29 พ.ค. 2562

รมว.สธ.จัดประชุมวิชาการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติพร้อมมอบรางวัล

           เมื่อช่วงเช้าวันที่ 29 พ.ค. 2562 ที่โรงแรมเซ็นทรา บายเซนทารา ศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ กทม. ศาสตาจารย์คลินิก นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน การประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติ ครั้งที่ 13 ประจำปี 2462 ในหัวข้อ “มุ่งสู่ยุคใหม่ การแพทย์ฉุกเฉินไทย”  (Next Generation EMS) โดยมีผู้บริหาร ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และ ผู้ปฎิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน จากองค์กรภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมประชุม จำนวน 1,200 คน เพื่อเป็นเวทีนำเสนอผลงานวิชาการ และ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน นำองค์ความรู้และนวัตกรรมที่ได้ไปพัฒนาคุณภาพระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน

        ศาสตาจารย์คลินิก นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร  กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญในระบบการแพทย์ฉุกเฉินอย่างต่อเนื่องโดยมีสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ขับเคลื่อนดำเนินงานตาม พรบ.การแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551ทั้งสร้างองค์ความรู้ การบริหารจัดการ กี่ประสานงานระหว่างภาครัฐและเอกชน ส่งเสริมการมีบทบาทอิงค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้คุ้มครองสิทธิ์ในการเข้าถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉินอย่างทั่วถึงเท่าเทียม และมีคุณภาพมาตรฐานืเกิดความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ดูแล “ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิทุกที่”

ให้ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุด โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายจนพ้นวิกฤติ ลดความเหลื่อมล้ำให้กับประชาชน ผลการดำเนินงานตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2560 – 28 พฤษภาคม 2562 และมีผู้เข้าเกณฑ์ได้รับสิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิทุกที่ จำนวน 48,831 คนจากจำนวนผู้ป่วยฉุกเฉินจำนวน 302,027 คน

       นอกจากนี้ภายในงาน การประชุมวิชาการการแพทย์ฉุกเฉินระดับชาติ ครั้งที่ 13 ประจำปี 2462 ในหัวข้อ “มุ่งสู่ยุคใหม่ การแพทย์ฉุกเฉินไทย”  (Next Generation EMS) ยังจัดมอบรางวัลเข็มเชิดชูเกียรติ กิตติมศักดิ์ จำนวน 4 ประเภท และรางวัลดีเด่น จำนวน 10 รางวัลจากจังหวัดทั่วประเทศไทย ซึ่งรางวัลเข็มเชิดชูเกียรติ กิตติมศักดิ์ มี นายธัญญา เนิตธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ดร.ทรงธรรม สุขสว่างผอ.สำนักอุทยาน ได้รับเนื่องจาก ภาคการท่องเที่ยว 5 ปีที่ผ่านมา ที่มี พล.อ.สุรศักดิ กาญจนรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ร่วมบริหารจัดการแก้ไขปัญหาที่ผ่านๆมาอย่างต่อเนื่อง กระทั่ง กรมอุทยานแห่งชาติสัตวป่าและพันธุ์พืช สามารถจัดเก็บรายได้กว่า 3-4 พันล้านบาท กระทั่งต่อมา กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช มีนโยบายเรื่องการกู้ชีพ กู้ภัย ทั้งภาคภูเขา ภาคป่าและทางทะเลอย่างต่อเนื่อง โดยนายธัญญา เน้นกับหัวอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ ให้ดูแลความปลอดของนักท่องเที่ยวที่เข้าไปปักหลักพักค้าง “ต้องปลอดภัย และไม่มีการสูญเสีย” โดยมอบหมาย งานส่วนกู้ภัยให้ นายปกครอง ทองเนื้อแข็ง หัวหน้าศูนย์กู้ภัยอุทยานแห่งชาติที่ 3 จังหวัดนครราชสีมา ดูการกู้ชีพ กู้ภัยในอุทยานแห่ง ภาคตะวันเฉียงเหนือ 24 แห่งพร้อมเข้าร่วมงานกับ หัวหน้าศูนย์กู้อุทยานแห่งชาติ 6 แห่งทั่วประเทศ ที่ผ่านๆมายังเกิดการสูญชีวิตของนักท่องเที่ยวแต่อย่างใด

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...