ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
เปิดงานวิจัยอาชีพพยาบาล36สถาบัน หนีชนบท/รายได้ต่ำไปสู่งานใหม่เงินสูง/ชีวิตดี
07 เม.ย. 2559

          กระแสของการขาดแคลนพยาบาลในประเทศไทยนับวันจะมีแนวโน้มที่สูงขึ้น ทั้งนี้ด้วยแรงจูงใจจากภายนอกหลายอย่างๆที่รัฐเองก็ควบคุมไม่ได้ ไม่ว่าค่าจ้างเงินเดือนของโรงพยาบาลเอกชน ค่าครองชีพ ความก้าวหน้า หรือไปทำงานในต่างประเทศ ฯลฯเป็นต้น ฉะนั้นการกลับมาทบทวน การผลิตอาชีพพยาบาลของสถานการศึกษาต่างๆโดยการควบคุมดูแลของสภาการพยาบาลนั้น ประเด็นสำคัญคือ การกลับไปสู่แนวคิดปรัชญา “การมุ่งเน้นการให้บริการสังคม”ของวิชาชีพนี้อีกหรือไม่

          เมื่อเร็วๆนี้ทางสำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ สำนักพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ เปิดงานวิจัยกำลังคนด้านสุขภาพโดยเน้นบทบาทของสถานศึกษาพยาบาลภาคเอกชนในการแก้ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลในประเทศไทย สิ่งที่ได้ศึกษาครั้งนี้คือ คุณลักษณะของสถาบันการศึกษาพยาบาลภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย ปัจจุบัน ระบบการผลิตบุคลากรด้านพยาบาลเป็นแบบไหน มีกลุ่มตัวอย่างพยาบาลมากกว่า3300คน จากทั้งสิ้น36สถาบันทั้งที่เป็นภาครัฐและเอกชน

          ข้อแรกการรับเข้าศึกษา(การคัดเลือกนักศึกษาจากชนบท) ถ้าเป็นสถาบันภาครัฐทั้งกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการ จะใช้หลักเกณฑ์คัดเลือกนักเรียนจากพื้นที่ห่างไกล/ชนบทแท้จริง เมื่อเทียบกับสถาบันเอกชน ไม่มีหลักเกณฑ์นี้เลย ข้อที่สอง ด้านการเงิน ทางภาครัฐ มากกว่า60%ของงบประมาณได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล รองลงมา27%ได้รับจากค่าเล่าเรียน สำหรับสถาบันเอกชน ประมาณ92%มาจากค่าเล่าเรียน

          ข้อที่สาม วิธีการเรียนการสอน ในภาครัฐ ส่วนใหญ่จะมีการเรียนการสอนในห้องเรียน และในสถาบันเอกชนก็เรียนในชั้นเรียนเช่นกัน ข้อที่สี่ ด้านหลักสูตร ทางสถาบันภาครัฐ มีการทบทวนหลักสูตรทุก5ปี แต่ประเด็นด้านสุขภาพมีน้อย  ซึ่งในสถาบันเอกชนก็เช่นเดียวกัน

          ข้อที่ห้าเรื่องอาจารย์ ในสถาบันภาครัฐ อาจารย์ ส่วนใหญ่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการจบการศึกษาระดับปริญญาเอก43% ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขมีเพียง10%เท่านั้น ทั้งนี้หลักเกณฑ์การคัดเลือกอาจารย์ขึ้นอยู่กับการศึกษา แต่ไม่เน้นประสบการณ์การปฏิบัติในชนบท แต่ในขณะที่สถาบันเอกชน อาจารย์ที่จบระดับปริญญาเอกเพียง14% และหลักเกณฑ์การคัดเลือกอาจารย์ขึ้นอยู่กับการศึกษาไม่เน้นประสบการณ์การปฏิบัติงานในชนบท

          ข้อที่หกสมรรถนะของนักเรียน เรื่องนี้สำคัญ สถาบันศึกษาภาครัฐนักศึกษาที่จบออกมา สังกัดกระทรวงสาธารณสุข49% และกระทรวงศึกษาธิการ60%สามารถสอบขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผ่านตั้งแต่ครั้งแรก ส่วนสถานศึกษาเอกชน นักศึกษาสามารถสอบขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตั้งแต่ครั้งแรกเพียง30%

          ข้อสุดท้ายในเรื่องการลาออกระหว่างเรียน ในสถาบันภาครัฐ จะมีการลาออกเพียง5-10% ส่วนใหญ่ต้องการเปลี่ยนสถาบันการศึกษา แต่ในสถาบันเอกชน ก็มีการลาออก5-10% ส่วนใหญ่เนื่องจากผลการเรียนต่ำกว่ามาตรฐาน

          ผลการศึกษาพบว่า ความตั้งใจในการเลือกงานของพยาบาลนั้น พยาบาลที่จบการศึกษาจากสถาบันฯภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสถาบันฯสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีความตั้งใจที่ทำงานในสถานบริการภาครัฐสูงกว่าพยาบาลที่จบการศึกษาจากสถาบันอื่น ทั้งภายหลังจบการศึกษาทันทีและภายในระยะ5ปีหลังจบการศึกษา ประการต่อมา นักเรียนที่จบการศึกษาจากสถาบันฯเอกชนเพียงหนึ่งในสามที่วางแผนจะทำงานในภาครัฐหลังจบการศึกษาทันที แต่อย่างไรก็ตามมีผู้วางแผนที่จะทำงานในภาครัฐเพิ่มขึ้นเป็น45%ภายในระ5ปี หลังจบการศึกษา และประการสุดท้ายการที่พยาบาลจบจากสถาบันฯภาครัฐตั้งใจจะเลือกทำงานในภาครัฐมากกว่า อาจเป็นเพราะว่านักเรียนพยาบาลเหล่านี้ได้รับการฝึกอบรมเข้มข้นในโรงพยาบาลภาครัฐ ขณะที่นักเรียนพยาบาลจากสถาบันฯภาคเอกชนมีประสบการณ์ทั้งการฝึกอบรมในภาครัฐและเอกชน ซึ่งส่งผลต่อความรู้สึกคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมในการทำงานภาครัฐแตกต่างกัน

          สำหรับพยาบาลที่จบการศึกษาจากสถาบันฯเอกชนพบว่ารายได้เป็นปัจจัยหลักสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกทำงานในสถานบริการสุขภาพเอกชน เนื่องจากมีการจ่ายค่าตอบแทนสูงกว่า ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเลือกทำงานในสถานบริการสุขภาพเอกชน เนื่องจากมีค่าตอบแทนสูงกว่า ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการศึกษาในสถาบันฯเอกชนมีค่าใช้จ่ายและศึกษาเล่าเรียนสูงกว่า

          สำหรับทัศนคติต่อการทำงานในชนบท พบว่า ทัศนคติของพยาบาลต่อการทำงานในชนบทเป็นปัจจัยสำคัญต่อความตั้งใจในการเลือกทำงานของพยาบาล แต่ไม่พบความแตกต่างด้านทัศนคติต่อการทำงานในชนบทระหว่างนักเรียนพยาบาลของสถาบันฯภาครัฐและเอกชน อย่างไรก็ดีพบว่านักเรียนพยาบาลจากสถาบันฯภาครัฐเห็นว่าพวกเขาได้รับการเตรียมความพร้อมและการจูงใจเพื่อทำงานในชนบทผ่านการศึกษาเล่าเรียนในสัดส่วนที่มากกว่า

          ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกทำงานในชนบทของพยาบาล จะมี2ประการหลัก ได้แก่ 1. การมีภูมิลำเนาเดิมในชนบทและการเข้าศึกษาผ่านระบบการคัดเลือกจากนักเรียนในพื้นที่ มีความสัมพันธ์กับทัศนคติเชิงบวกต่อการทำงานในชนบท และ2.ผลของการศึกษานี้สอดคล้องกับผลการศึกษาเรื่องการตัดสินใจเลือกปฏิบัติงานในชนบทของแพทย์ในประเทศไทย โดยพบว่านักศึกษาแพทย์ที่มีภูมิลำเนาในชนบทมีความตั้งใจเลือกทำงานในโรงพยาบาลชุมชน

          ข้อเสนอเชิงนโยบาย สำหรับสถาบันการศึกษา ในเรื่องแรกนโยบายด้านการคัดเลือกและการรับเข้าศึกษา สถาบันการศึกษาพยาบาล ควรดำเนินนโยบายกาคัดเลือกนักเรียนจากพื้นที่ชนบทต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับคำแนะนำจากองค์การอนามัยโลกว่าการคัดเลือกนักเรียนจากชนบทเข้ามาศึกษาเป็นกลยุทธิ์ที่มีประสิทธิภาพในการธำรงรักษาไว้ในชนบท และถือได้ว่าผลการศึกษาครั้งนี้ยืนยันคำแนะนำดังกล่าว

          ด้านการกระจายสถาบันการศึกษาเพื่อจัดการศึกษาในพื้นที่และการจ้างงานในบ้านเกิดของนักศึกษาจะช่วยส่งเสริมการธำรงรักษาพยาบาลไว้ในชนบท สำหรับการพัฒนาหลักสูตร เนื้อหาหลักสูตรและการฝึกอบรมควรเน้นให้นักศึกษามีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานในชนบท โดยการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนได้มีโอกาสฝึกปฏิบัติและคุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมในชนบทให้มากขึ้น ควรมีการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอน โดยเพิ่มเนื้อหาเกี่ยวกับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพให้มากขึ้น เช่น ความเสมอภาคทางด้านสุขภาพ นโยบายสุขภาพ ความเข้าใจความหลากหลายด้านวัฒนธรรม และการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการปฏิบัติงานเข้าไปในหลักสูตร

          ด้านการพัฒนาอาจารย์ ควรกำหนดให้มีประสบการณ์ทำงานในชนบทเป็นเกณฑ์หนึ่งในการคัดเลือกอาจารย์เข้าทำงาน สถาบันการศึกษาพยาบาลควรออกแบบและดำเนินแผนการพัฒนาศักยภาพความชำนาญตามมาตรฐานวิชาชีพของอาจารย์อย่างต่อเนื่อง และต้องให้สอดคล้องและตอบสนองต่อความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไป

          สถาบันฯที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขควรพัฒนาศักยภาพและสร้างแรงจูงใจให้มีอาจารย์ใหม่ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพเข้ามาทำงานเพิ่มขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา ทางสถาบันฯภาคเอกชนควรพัฒนาคุณภาพอาจารย์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา และการวางแผนกำลังคนและการพัฒนากลยุทธิ์เรื่องการธำรงรักษาอาจารย์มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อรับมือกับความท้าทายจากกรณีมีกำลังคนสูงอายุ และอัตราการลาออกที่สูงขึ้น

          สำหรับกระทรวงสาธารณสุข รัฐบาลหรือโรงพยาบาลในชนบทควรให้ทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีภูมิลำเนาในพื้นที่ และแสวงหาความร่วมมือทั้งจากสถาบันการศึกษาภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อสนับสนุนการผลิตพยาบาลให้เพียงพอ และกระทรวงสาธารณสุขควรมีบทบาทหลักในการกำหนดความต้องการพยาบาลในชนบททั่วประเทศ

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 พฤษภาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...