ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
เปิดข้อเสนอ'กุญแจสามดอกไขทางออกประเทศไทยCovid19เราต้องรอด'จากกลุ่มแพทย์ปนป.สถาบันพระปกเกล้า
27 มี.ค. 2563

กลุ่มแพทย์ หลักสูตรประกาศนียบัตร ผู้นำยุคใหม่ในระบอบประชาธิปไตย (ปนป.) สถาบันพระปกเกล้า เผยแพร่ข้อเสนอ  กุญแจสามดอก ไขทางออกประเทศไทย Covid19  เราต้องรอด version Cartoon มีเนื้อหาดังนี้

 

วันนี้กุญแจดอกแรก คือ Rapid test ได้เริ่มอนุมัติให้ใช้อย่างเป็นทางการหลังจากรอมานาน ถึงเวลา massive testing ที่ทุกคนจะเข้าถึงการตรวจในราคาไม่แพง รอไม่นาน ทำได้ทุกที่ เพื่อที่จะควบคุมโรคได้ในระยะเวลาอันใกล้นี้   ตอนนี้เราลงทุนปิดบ้านปิดเมืองระดับหนึ่งแล้ว อย่าให้เสียโอกาส จะใช้วิธีตั้งรับรอผู้ป่วยเดินเข้ามาอย่างเดียวจะไม่ทันการ การตรวจปัจจุบันที่ใช้อยู่ตั้งแต่เริ่มแรก มีคนรอผลหลายวันจำนวนมาก และ ไม่ได้ตรวจแต่มีอาการก็เยอะ ต้องมีมาตราการค้นหาผู้ติดเชื้อให้มากที่สุดเพื่อทำการแยก กักตัว รักษา เมื่อวันที่เปิดเมืองเราจะได้ก้าวต่อไปได้

ยกตัวอย่าง

อิตาลีพิสูจน์แล้วว่า ตรวจเยอะกว่า ตรวจเร็วกว่า ตายน้อยกว่า

- การตรวจหาผู้ติดเชื้อแบบ Mass Testing ในเมือง Vo’ของอิตาลีแสดงให้เห็นว่า สามารถหยุดการระบาดของ Covid-19 ได้ เกือบ 100 เปอร์เซนต์

ผ่านมาแล้วประมาณ 1 เดือนที่อิตาลีมีการระบาดของเชื้อ Covid-19 อย่างรวดเร็ว โดยรายงานยอดผู้ติดเชื้อวันที่ 19 มีนาคม มีมากกว่า 40,000 คน ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อที่เยอะที่สุดในจำนวนยอดผู้ติดเชื้อนอกประเทศจีน

โดยเมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมา นักวิจัยในมหาวิทยาลัย Padua และกาชาดของประเทศอิตาลี ได้ทำการทดลองการตรวจหาผู้ติดเชื้อโดยได้ทำการตรวจผู้อยู่อาศัยทุกคนแม้ว่าจะไม่แสดงอาการในเมือง Vo’ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของเมือง Venice จำนวน 3400 คน  โดยเริ่มการตรวจแบบ Mass Testing ครั้งแรกวันที่ 6 มีนาคม พบจำนวนผู้ป่วยจำนวน 89 คนที่มีผลตรวจเป็น positive คิดเป็นจำนวน 3 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนผู้อยู่อาศัยทั้งหมด จึงได้ทำการตรวจและคัดกรองผู้อยู่อาศัยทุกคน ให้กักตัวอยู่ในบ้านของตัวเองและไม่อนุญาตให้ติดต่อกับผู้อื่น ทำให้สามารถกักตัวประชากรก่อนที่พวกเค้าจะแสดงอาการป่วย และทำให้สกัดการแพร่กระจายของเชื้อได้ จากแนวทางนี้ทำให้เราสามารถหยุดเชื้อไวรัสในเวลาต่ำกว่า 14 วันได้

ผ่านไป 10 วัน ได้ทำการตรวจแบบ Mass Testing อีกครั้ง พบว่าจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงเหลือเพียงแค่ 6 คน คิดเป็น 0.3 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนผู้อยู่อาศัยทั้งหมด เท่ากับจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงไปถึง 90 เปอร์เซ็นต์ และไม่พบจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มเติม

จากการทดสอบทำให้ทราบว่า จำนวนผู้ติดเชื้อ Covid-19 มีเพียง 25 เปอร์เซ็นต์ ที่จะแสดงอาการ และ 75 เปอร์เซ็นต์ จะไม่แสดงอาการ ทำให้ผู้ติดเชื้อเหล่านั้นไม่คาดคิดว่าตนเองติดเชื้อ

ดังนั้น Mass testing หรือ การพยายามค้นหาผู้ที่มีเชื้อให้ได้มากที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าเรารอตั้งรับเพียงอย่างเดียว รอให้คนป่วยแล้วจึงค่อยรักษา จะทำให้มีกลุ่มคนที่อาจจะมีอาการน้อย หรือ ไม่มีอาการ มีเชื้อ ยังคงใช้ชีวิตตามปกติ ทำให้แพร่เชื้อให้แก่ผู้อื่น

ตรวจเพื่อนบ้าน ตรวจญาติ พี่น้อง ตรวจเพื่อน – ตรวจทุกคนเท่าที่ทำได้ แม้ว่าไม่มีอาการ

ที่มา https://www.theguardian.com/commentisfree/2020/mar/20/eradicated-coronavirus-mass-testing-covid-19-italy-vo?CMP=Share_iOSApp_Other

 

ดอกที่สอง ยา เมื่อเราค้นหาผู้ติดเชื้อได้มากขึ้นแล้วรักษาเร็ว ด้วย

ยาที่ได้ผลดี ได้ผลจริง ออกฤทธิ์เฉพาะ และยับยั้งไวรัสได้ตรงจุด

ควร hit hard and hit fast อย่ารอให้มีอาการรุนแรงเช่นปอดบวมค่อยให้ (นอกจากจะช่วยชีวิต อาจจะช่วยลดจำนวนคนไข้ติดเครื่องช่วยหายใจ.. ช่วยให้ระบบมีเตียงพอ คุมโรคได้)  กลุ่มที่อาการไม่รุนแรง รักษาอยู่บ้าน ไม่สร้างสถานที่กักตัวเอาคนมาอยู่รวมกัน แต่ใช้บ้านเป็น ที่ดูแลรักษา (แต่ต้องช่วยสอนและจัดให้คนกักตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ) ...ใช้เทคโนโลยีเชื่อมต่อ tele medicine ให้แพทย์ พยาบาลสอบถามอาการ แนะนำการรักษาเบื้องต้น

รพ. ขาดแคลนอุปกรณ์ หน้ากากN95 สามารถใช้UV ฆ่าเชื้อ ทำความสะอาดแล้วนำกลับมาใช้ซ้ำ มีผลงานเบื้องต้นจาก อ.ทยา และ คณะ ที่ รพ.รามาธิบดี , ชุดPPE สามารถทดแทน และลดความเสี่ยงเจ้าหน้าที่ด้วยหุ่นยนต์ได้ ระยะที่1 เรามีการทดลองใช้มาเบื้องต้นแล้ว ปัจจุบันมีการปรับปรุงให้วัดสัญญาณชีพได้ รวมถึงใช้สัญญาณ5G เพื่อเพิ่มคุณภาพการติดต่อสื่อสาร

 

ดอกสุดท้าย Social distancing

พวกเราห่างกันสักพัก กลับมาพบกันใหม่ฟื้นฟูประเทศในวันที่หายป่วย

แต่ รัฐต้องมีนโยบายให้ชัดเจน และสนับสนุนอำนวยความสะดวกให้ประชาชนที่เก็บตัว และทำงานอยู่กับบ้าน เรื่อง สาธารณูปโภค ยา ปรับกฎหมาย ค่าจ้าง หรือ สนับสนุนplat form การทำงาน

 

(และจัดระบบซื้อของ ส่งของ อาจจะต้องให้เปิดร้านนานขึ้นเพื่อให้คนแยกเวลาซื้อของกัน มีวิธีป้องกันการแพร่เชื้อของผู้ส่งของ)

 

สำหรับรพ.เอง ให้ผู้ป่วยที่มาติดตาม มาเอายาเฉยๆ ที่ OPD สามารถ รับยาได้โดยไม่ต้องมารพ. (ต้องให้กรมบัญชีกลาง/ประกันสังคม/สปสช. อนุมัติการจ่ายยา โดยมีกระบวนการตรวจสอบ ว่าสั่งยาถูกต้อง) ..สามารถเลื่อนการนัดออกไปก่อนในผู้ป่วยที่เหมาะสม หรือใช้ telemedicine

 

Stay home = Survive

นาทีนี้ทุกคนเก็บตัวอยู่บ้าน อดทนจะช่วยให้รอดพ้นจากภัยพิบัติครั้งนี้ไปได้ บุคลากรทางการแพทย์โดยเฉพาะมดงานด่านหน้า สู้เต็มที่เพื่อให้ประเทศสูญเสียน้อยที่สุด หลายคนไม่มีโอกาสกลับบ้านไปอยู่กับคนที่รักเพราะต้องกักตัวแยกออกมากลัวเอาโรคไปติดครอบครัว หลายคนมีอาการต้องadmit อยู่ใน รพ. หลายวันมานี้ได้รับกำลังใจมากมาย อุปกรณ์การแพทย์ จากเพื่อนพี่น้อง สิ่งที่ทุกท่านจะช่วยเราได้ดีที่สุด คืออยู่บ้านให้มากที่สุด ออกมาเท่าที่จำเป็นจริงๆ ส่งกำลังใจมาให้ก็พอ

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...