ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ธรรมาภิบาล ย้อนกลับ
ป.ป.ส.แจงความคืบหน้าการปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติด
23 เม.ย. 2563

นายนิยม เติมศรีสุข เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (เลขาธิการ ป.ป.ส.) เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้ นายวิชัย ไชยมงคล ที่ปรึกษาการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงาน ป.ป.ส และคณะเป็นผู้แทนเข้าประชุมคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ ครั้งที่ 415/2563 ซึ่งมีวาระการพิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เรื่อง การปรับสถานะพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษประเภท 5 ณ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากที่ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้มีแนวคิดในการปรับนโยบายยาเสพติดโดยเล็งเห็นว่าพืชกระท่อมสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ และนำไปพัฒนาเป็นพืชเศรษฐกิจได้ ประกอบกับการผ่อนปรนให้ผู้ใช้พืชกระท่อมในชีวิตประจำวันตามวิถีชาวบ้าน และได้เสนอต่อคณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันอังคารที่ 10 มีนาคม 2563 อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปประกอบการพิจารณาด้วย และให้กระทรวงยุติธรรมเสนอประเด็นการปรับแก้ไขร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ต่อคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ แล้วแจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการดังกล่าวประกอบการตรวจพิจารณาร่างของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อไป

เลขาธิการ ป.ป.ส. กล่าวถึงผลการพิจารณาของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ มีมติเห็นชอบตามร่างพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ โดยที่ประชุมมีข้อสังเกต3 ประเด็นคือการควบคุมดูแลภายหลังพืชกระท่อมพ้นจากยาเสพติดให้โทษแล้ว ซึ่งสำนักงาน ป.ป.ส. ได้ชี้แจงว่า ในกรณีการเสพในรูปแบบน้ำต้มพืชกระท่อมผสมที่เรียกว่า 4 คูณ 100 โดยอาจนำยาแผนปัจจุบัน หรือวัตถุออกฤทธิ์จิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษผสมนั้น ยังคงเป็นความผิดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้นขึ้นอยู่นำสิ่งใดไปผสม ส่วนการป้องกันเด็ก/เยาวชนไม่ให้ไปใช้พืชกระท่อมนั้น จะได้เสนอให้มีการปรับแก้กฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 โดยการกำหนดเพิ่มเติมให้การเสพพืชกระท่อมของเด็ก/เยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและเสี่ยงต่อการกระทำความผิด สามารถนำเด็ก/เยาวชนนั้นไปยัง “สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ” หรือ “สถานพัฒนาและฟื้นฟู” เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...