ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
กฟผ. เดินหน้าเสริมความมั่นคงระบบส่งไฟฟ้า พร้อมผนึกเครือข่าย ร่วมฟื้นทะเลไทยผ่านโครงการบ้านปลาปะการังจากลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าแรงสูง
12 มิ.ย. 2566

กฟผ. เตรียมพร้อมเดินหน้าเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผ่านสายส่งไฟฟ้าระดับแรงดัน 500 กิโลโวลต์ เพิ่มศักยภาพการส่งจ่ายไฟฟ้าของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และภาคใต้ในอนาคต พร้อมนำเครือข่ายพันธมิตรและสื่อมวลชนร่วมกิจกรรม CSR จัดวางบ้านปลาปะการังจากลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศใต้ทะเลอย่างยั่งยืน

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจภารกิจรักษาความมั่นคงระบบส่งไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พร้อมจัดกิจกรรมอนุรักษ์ทะเลประจวบคีรีขันธ์ บริเวณเกาะทะลุ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในพื้นที่โครงการวางบ้านปลาปะการังจากลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าของ กฟผ. เพื่อช่วยฟื้นฟูและสร้างความหลากหลายทางชีวภาพให้แก่ระบบนิเวศทางทะเลของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีนายสามารถ ทองสาย ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเขตนครหลวง – 2 กฟผ. นายปรีดา เจริญพักตร์ ประธานมูลนิธิฟื้นฟูทะเลสยาม กรมทรัพยากรทางทะเล
และชายฝั่ง (ทช.) เครือข่ายสื่อมวลชนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นักประดาน้ำจิตอาสา กฟผ. นักดำน้ำจิตอาสากลุ่ม Save The Planet Associate (SPA) ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว คณะผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. เข้าร่วมกิจกรรม 

เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2566 ณ บริเวณเกาะทะลุ อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์นายสามารถ ทองสาย ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเขตนครหลวง – 2 กฟผ. เปิดเผยว่า กฟผ. มีภารกิจหลักในการดูแลรักษาความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศ โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันตกและภาคใต้เพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าผ่านสายส่งไฟฟ้าระดับแรงดัน 500 กิโลโวลต์ เพื่อแก้ปัญหากำลังผลิตไฟฟ้าที่มีไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ไฟฟ้าของภาคใต้ จำเป็นต้องส่งไฟฟ้าจากภาคกลางมาช่วยเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้า และรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พื้นที่เขตเศรษฐกิจด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ และเป็นจุดเชื่อมโยงการส่งจ่ายไฟฟ้าผ่านสายส่งไฟฟ้าแรงสูงจากภาคกลางลงสู่ภาคใต้ รวมระยะทางทั้งสิ้น 504 กิโลเมตร ซึ่งภายในปี 2566 กฟผ. จะเริ่มดำเนินโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันตกและภาคใต้ฯ ระยะที่ 2 เพื่อเพิ่มศักยภาพในการส่งจ่ายไฟฟ้าของพื้นที่ภาคใต้ และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ให้มีประสิทธิภาพและเพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคต​

นอกจากภารกิจหลักในการผลิตและส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าแล้ว กฟผ. ยังดำเนินโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ที่สำคัญ คือ โครงการวางบ้านปลาปะการังจากลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า ซึ่ง กฟผ. ร่วมกับ ทช. กองทัพเรือ และเครือข่ายพันธมิตร ดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี 2554 มาจนถึงปัจจุบัน โดยนำบ้านปลาปะการังจากลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า ซึ่งเป็นอุปกรณ์ระบบส่งไฟฟ้าที่หมดอายุการใช้งานและเสื่อมสภาพแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ทำมาจากวัสดุที่มีส่วนประกอบของเซรามิกที่มีความสอดคล้องกับโครงสร้างหินปูนที่เกิดจากการสร้างตัวของปะการัง โดยผลการศึกษาผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางทะเลของมหาวิทยาลัยนเรศวร พบว่า โครงสร้างของลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม และจากผลการวิจัย “โครงการทดสอบลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าภายใต้สภาวะจำลองสภาพแวดล้อมทางทะเล” ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ พบว่า ลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าไม่ส่งผลเสียต่อคุณภาพน้ำทะเลเพื่อการอนุรักษ์แหล่งปะการัง และไม่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศหรือสิ่งแวดล้อมทางทะเลแต่อย่างใด ที่ผ่านมา กฟผ. ได้นำบ้านปลาฯ ไปวางไว้ใต้ท้องทะเลไทยในพื้นที่ต่าง ๆ ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี สงขลา ปัตตานี นราธิวาส พังงา และภูเก็ต เพื่อช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศและอนุรักษ์ท้องทะเลไทยให้มีความอุดมสมบูรณ์และสร้างความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติในด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ตามหลัก Circular Economy หรือระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า นำทรัพยากรหรือวัสดุกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งตอบสนองนโยบายของประเทศในการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) อย่างยั่งยืนอีกด้วย

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 พฤษภาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...