ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
อพท. ขานรับนโยบาย “หนึ่งจุดหมายปลายทาง” ผูกโยงประเพณี วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ปักหมุดเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านกลุ่มอาเซียน ใช้รูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นจุดขาย หวังเพิ่มวันพักและกา
10 ส.ค. 2560

พันเอก ดร. นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เปิดเผยว่า ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ได้มอบนโยบายให้สำนักงานพื้นที่พิเศษศึกษาและพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยง เพื่อให้เกิดเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ๆ ที่ตอบสนองนโยบายการเปิดเสรีอาเซียน

ทั้งนี้หลักการเลือกพื้นที่เพื่อพัฒนาเป็นเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ดูจากหลายปัจจัย เช่น วิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณี ประวัติศาสตร์ ภูมิประเทศ และลักษณะการเชื่อมโยงนั้นจะแบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ เชื่อมโยงกันทางกายภาพที่มีพรมแดนที่ติดต่อกัน และเชื่อมโยงทางประเพณีวัฒนธรรม โบราณสถาน ที่สอดคล้องกัน รูปแบบการดำเนินงานภายหลังศึกษาความเป็นไปได้ และเห็นศักยภาพของพื้นที่ อพท. ได้ใช้หลักการบูรณาการทำงานร่วมกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในรูปแบบการลงนามข้อตกลงร่วมกัน ในระดับเมือง ระดับจังหวัด ระดับแขวง เป็นต้น เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาเส้นทาง เพื่อให้ชุมชนที่อยู่สองฝั่งเส้นทางได้รับการพัฒนาเป็นการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว และนักเดินทาง เช่น กิจกรรมการท่องเที่ยว พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาสินค้า และของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยว

สำหรับโครงการที่ อพท. ได้เริ่มทยอยศึกษา และพัฒนาแล้วจะกระจายอยู่ใน 6 พื้นที่พิเศษ ได้แก่ พื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้าง และพื้นที่เชื่อมโยง พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยง ตราด - เกาะกง พื้นที่พิเศษเมืองพัทยา และพื้นที่เชื่อมโยง พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเรือยอร์ชเชื่อมเส้นทางพัทยา - เกาะช้าง - เกาะกง พื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย – ศรีสัชนาลัย - กำแพงเพชร พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเมืองมรดกโลกอาเซียน พื้นที่พิเศษเลย พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวสี่เหลี่ยมวัฒนธรรมล้านช้าง เชื่อมเส้นทาง เลย – ไซยะบุรี - หลวงพระบาง – เวียงจันทน์ พื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมดินแดนล้านนาตะวันออก ไทย – ลาว พื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงวิถีชีวิต อู่ทอง - มะริด – ทวาย - กุยบุรี และเส้นทางท่องเที่ยวเมืองโบราณสถาน อู่ทอง – นครวัด – นครธม – บายอน - ตาพรหม - บันทายศรี

“ในส่วนของจังหวัดสุโขทัย อพท. ตั้งเป้าหมายให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเมืองมรดกโลก แม้จะไม่มีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน แต่เป็นเมืองศูนย์กลางของการเดินทางในเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ จึงมีศักยภาพที่จะพัฒนาให้เป็นเส้นทางเชื่อมโยงเมืองหลวงพระบาง – อินโดจีน – เมาะลำไย (ประเทศเมียนมาร์) ส่วนเมืองพัทยาโดดเด่นเรื่องกิจกรรมท่องเที่ยวทางน้ำ อพท. จึงพัฒนาเป็นเส้นทางท่องเที่ยวเรือยอร์ช รองรับนักท่องเที่ยวระดับสูงเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่พิเศษต่อขยายไปถึงประเทศเพื่อนบ้านคือเกาะกง ประเทศกัมพูชา สำหรับเมืองโบราณอู่ทอง กรณีการเชื่อมเส้นทาง มะริด และทวาย เป็นการเชื่อมโยงทางกายภาพ และวิถีชีวิต ส่วนการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับประเทศกัมพูชานั้น เพราะเป็นเมืองที่มีโบราณสถานที่เป็นประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 1,000 ปีขึ้นไป”

จากการลงพื้นที่ และเริ่มพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงไปบ้างแล้วในหลายพื้นที่ เห็นได้ชัดเจนคือชุมชนเกิดการตื่นตัวที่จะพัฒนาตัวเอง เพื่อรองรับการมาเยือนของนักท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวมีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลาย เกิดการใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้น และเพิ่มวันพักอีกอย่างน้อย 1 คืน ซึ่งเป็นไปตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมการท่องเที่ยว มอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และสร้างความเชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยวภายในกลุ่มประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศกัมพูชา-ลาว-เมียนมาร์-เวียดนาม-ไทย (CLMVT) เพื่อยกระดับ และสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของอาเซียนร่วมกัน ภายใต้แนวคิด "หนึ่งจุดหมายปลายทาง (One Destination)”

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 พฤษภาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...