ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
ทช.-GC ปลูกป่าชายเลนกักเก็บคาร์บอนเครดิต ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero
29 ส.ค. 2566


กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ร่วมกับบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC จัดงานปลูกป่าชายเลนเพื่อการกักเก็บคาร์บอนเครดิต ภายใต้ธีม "ยิ่งปลูก ยิ่งดี" โดยมีเป้าหมายเดียวกันในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการปลูกป่าชายเลนเพื่อประโยชน์จากคารบอนเครดิตของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) โอกาสนี้นายอภิชัย เอกวนากุล รักษาราชการแทนอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (รรท.อทช.) ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC เป็นประธานร่วมจัดงานฯ โดยมีนายไตรภพ วงศ์ไตรรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ดร.พรศรี สุทธนารักษ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นางดาวรุ่ง ใจจริง ผู้อำนวยการกองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) ตลอดจนคณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้นำท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมปลูกป่าชายเลน กว่า 300 คน ณ พื้นที่แปลงปลูกป่าชายเลน ตำบลเนินฆ้อ และตำบลทางเกวียน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

นายอภิชัย เอกวนากุล  รักษาราชการแทนอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (รรท.อทช.) กล่าวแสดงเจตนารมย์ในการร่วมมือกันของโครงการปลูกป่าเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครติด ว่า ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันการเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงปารีส ซึ่งมีเป้าหมายร่วมกันเพื่อควบคุมการเพิ่มของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส และมุ่งพยายามควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส และมีเป้าหมายที่จะลดก๊าซเรือนกระจกลง ร้อยละ 20 - 25 ภายในปี พ.ศ. 2573 ส่งผลให้ทุกภาคส่วนเล็งเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์โลกร้อน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน ซึ่งการลดก๊าซเรือนกระจกที่ดีที่สุดรูปแบบหนึ่ง คือ การปลูกป่าชายเลนเพื่อดูดซับก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ ซึ่งเป็นตัวการหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ในฐานะหน่วยงานหลักที่ดูแลทรัพยากรป่าชายเลนได้ออกระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ว่าด้วยการปลูกและบำรุงป่าชายเลนสำหรับองค์กรหรือบุคคลภายนอก พ.ศ. 2565 พร้อมจัดทำคู่มือการปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต และกำหนดคุณสมบัติหลักเกณฑ์เพื่อขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการปลูกป่าชายเลนกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อให้การดำเนินงานปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต เกิดประสิทธิภาพ สัมฤทธิ์ผลทุกมิติ และบรรลุเป้าหมายของทุกฝ่าย ซึ่งมีหลายหน่วยงาน ทั้งภาคเอกชน ภาคชุมชน หันมาสนใจและให้ความสำคัญมากขึ้น ทำการยืนเพื่อขอขึ้นทะเบียนการปลูกป่าชายเลนร่วมกับกรม ทช. เป็นจำนวนมาก เพื่อส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนและเป็นแหล่งดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์โลกร้อน รวมถึงการดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกและส่งเสริมการเติบโตที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ จึงมอบหมายให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ดำเนินการหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยการขับเคลื่อนโครงการปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิตใน 2 ลักษณะ ได้แก่ โครงการปลูกป่าชายเลนเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิตสำหรับบุคคลภายนอก และโครงการปลูกป่าชายเลนเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิตสำหรับชุมชน ซึ่งกรม ทช. ตั้งเป้าการฟื้นฟูป่าชายเลน 300,000 ไร่ภายใน 10 ปี เพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนเป็นแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งเร่งฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมและขับเคลื่อนการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกสุทธิภาคป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน จำนวนทั้งสิ้น 120 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่า ภายในปี พ.ศ. 2580 โดยมีมาตรการสำคัญการปลูกและฟื้นฟูป่าธรรมชาติการปลูกป่าเศรษฐกิจ การเพิ่มพื้นที่สีเขียว และการป้องกันการบุกรุกป่าทำลายป่า

ทั้งนี้ บริษัท GC ได้ยื่นคำขอเข้าร่วมโครงการปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต สำหรับบุคคลภายนอก ประจำปี พ.ศ. 2565 และกรม.ทช ได้อนุมัติเข้าร่วมโครงการ พื้นที่รวม 3,457.39 ไร่  โดยพื้นที่ดำเนินการในวันนี้เป็นพื้นที่แปลงปลูกท้องที่ตำบลเนินฆ้อ เนื้อที่  222.60 ไร่ เดิมเป็นพื้นที่ที่ผ่านการทำนากุ้งมาก่อน ซึ่งกรมได้ดำเนินการตรวจยึดจับกุม นำมาปรับปรุงสภาพพื้นที่ให้เป็นพื้นที่ปลูกป่า ฟื้นฟู เพื่อสร้างคาร์บอนเครดิตต่อไป อีกทั้งขอความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคท้องถิ่น ชุมชน ในการยกระดับการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ  และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ตามเจตนารมณ์ของประชาคมโลกต่อไป "นายอภิชัย กล่าวทิ้งท้าย"

ด้าน ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมาทางบริษัท ได้ให้คำมั่นตาม Paris Agreement และร่วมเป็นหนึ่งในผู้แก้ปัญหาสภาวะโลกร้อน ด้วยการกำหนดเป้าหมายที่ท้าทายและแผนงานที่ชัดเจน โดยได้ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ ในปี 2050 หรือเป้าหมาย Net Zero ผ่าน 3 แนวทาง คือ Efficiency-driven  Portfolio-driven และ Compensation-driven ได้มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในทุกกระบวนการ ปรับโครงสร้าง ก้าวสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ และการชดเชยคาร์บอนด้วยเทคโนโลยีทันสมัยต่างๆ รวมถึงการปลูกป่าชายเลนเพิ่มพื้นที่สีเขียว ซึ่งเป็นวิธีที่เราสามารถเริ่มต้นลงมือทำได้ทันที และป่าชายเลนยังสามารถเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจผ่านการใช้คาร์บอนเครดิตได้อีกด้วย เพราะป่าชายเลนถือเป็นแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญยิ่ง สอดคล้องกับแนวทางการจัดการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ อีกทั้งสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่อยู่ตามหน้าดินสามารถดำรงอยู่ได้ด้วยความสมดุลของระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพและแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติเป็นส่วนประกอบสำคัญที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อทุกชีวิตบนโลก และต้องตระหนักเป็นอย่างดีถึงความสำคัญในการป้องกัน หลีกเลี่ยง บรรเทา ฟื้นฟู และชดเชยผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ทางบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC จึงยินดีอย่างยิ่งที่จะร่วมการขับเคลื่อนโครงการปลูกป่าชายเลน เพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต ในแก้ไขปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์และรักษาทรัพยากรป่าไม้ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน และเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ต่อไป

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 1 - 15 พฤษภาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...