ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
อภ.เร่งผลิตยาโอเซลทามิเวียร์รักษาไข้หวัดใหญ่สำรองเพิ่มเติม 26 ล้านเม็ด
30 ก.ย. 2566

  องค์การเภสัชกรรมได้เร่งผลิตยาโอเซลทามิเวียร์ สำหรับเด็กและผู้ใหญ่ จำนวนรวม 26 ล้านเม็ด เพื่อ รองรับการระบาดไข้หวัดใหญ่ที่ยังระบาดต่อเนื่อง เป็นวงกว้าง   โดยเริ่มส่งมอบได้ตั้งแต่ วันที่ 4 ตุลาคม นี้ และล่าสุดทำหนังสือถึง อย.พิจารณานำยาฟาวิพิราเวียร์เข้าบัญชียาหลักแห่งชาติข้อบ่งใช้ในไข้หวัดใหญ่  พร้อมส่งโรงพยาบาลทันที จำนวน 1.6 ล้านเม็ด 
    
     พญ.มิ่งขวัญ  สุพรรณพงศ์  ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ขยายเป็นวงกว้าง จนส่งผลให้มีผู้ป่วยเพิ่มจำนวนมากขึ้น    องค์การเภสัชกรรมจึงได้เร่งจัดส่งยา  โอเซลทามิเวียร์ ให้กับโรงพยาบาลที่มีการสั่งยาเข้ามาจนหมดแล้วตั้งแต่กลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา แต่เนื่องจากมีความต้องการยาเพิ่มสูงมาขึ้น 4 – 5 เท่า จึงได้มีการเร่งผลิต สำรองยาที่จะต้องผลิตเพิ่มขึ้นทั้ง 3 ขนาด ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยเด็กเล็กขนาด 30 มิลลิกรัม เด็กโตขนาด 45 มิลลิกรัม ผู้ใหญ่ 75 มิลลิกรัม โดยขณะนี้มีวัตถุดิบประมาณ 2,800 กิโลกรัม  ซึ่งสามารถผลิตเป็นยาโอเซลทามิเวียร์  ได้ประมาณ 26 ล้านเม็ด โดยยาโอเซลทามิเวียร์สำหรับเด็กเล็ก 30 มิลลิกรัม องค์การฯ จะจัดส่งได้หมดในวันที่ 4 ตุลาคมนี้ ขนาด 45 มิลลิกรัมจะส่งได้ไม่เกินวันที่ 9 ตุลาคมนี้ และขนาด 75 มิลลิกรัมสำหรับผู้ใหญ่จะทยอยจัดส่งได้ไม่เกินเดือนตุลาคม 2566

     นอกจากนี้ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวต่อไปว่า องค์การฯยังได้มีการสำรองยาฟาวิพิราเวียร์ จำนวน 1.6 ล้านเม็ด และมีวัตถุดิบที่สามารถผลิตยาได้อีก จำนวน 880,000 เม็ด และล่าสุดองค์การฯ ได้จัดทำหนังสือถึง อย. ไปยังคณะอนุกรรมการฯบัญชียาหลักแห่งชาติ เพื่อพิจารณาขอให้นำยาฟาวิพิราเวียร์เข้าบัญชียาหลักแห่งชาติในข้อบ่งใช้การติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่อีกด้วย
  
     “ขอให้ประชาชนมั่นใจได้ว่า องค์การฯสามารถจัดเตรียมยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษา   และสำรองวัตถุดิบไว้รองรับอย่างเพียงพอและทั่วถึง หากมีความจำเป็นต้องการใช้อย่างเร่งด่วนก็สามารถเร่งการผลิตเพิ่มเติมให้รวดเร็วทันการมากที่สุดได้ในทันที” ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าว

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 31 พฤษภาคม 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...