ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
กรมการค้าภายใน เดินแผน Local Economy ยกระดับตลาดภูมิภาค ส่งผลไม้ไทยบุกตลาดเมียนมา
10 ต.ค. 2560

 

        กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ หนุนแนวคิด Local Economy เล็งส่งเสริมเกษตรกรและ SMEs พร้อมยกระดับตลาดกลาง  ขยายโอกาสสินค้าชุมชนสู่ตลาดภูมิภาคพร้อมกระจายผลิตภัณฑ์ไทยสู่ตลาดประเทศเพื่อนบ้าน พร้อมจัด Business Matching นำผลไม้ไทยบุกตลาดเมียนมา หนุนผู้ประกอบการขายผลผลิตได้โดยตรง             
ตามที่รัฐบาล มีนโยบายปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจการค้าของประเทศ โดยมุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน และเชื่อมโยงการค้ากับนานาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเพื่อนบ้านของไทย ภายใต้แนวคิด Local Economy ที่มุ่งส่งเสริมการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ยกระดับการประกอบธุรกิจ และเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร และผู้ประกอบการ SMEs นั้น ทางกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ได้จัด กิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจ (Business Matching) เพื่อพัฒนาและยกระดับตลาดกลาง ตามโครงการพัฒนาระบบตลาดภูมิภาค     รองรับตลาดประเทศเพื่อนบ้าน ในวันอังคารที่ 10 ตุลาคม 2560 เวลา 08.30 –14.30 น.  ณ โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี


           รองศาสตราจารย์ ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาระบบตลาดภูมิภาครองรับตลาดประเทศเพื่อนบ้าน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่ารัฐบาลมีนโยบายปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจการค้าของประเทศ โดยมุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน และเชื่อมโยงการค้ากับนานาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเพื่อนบ้านของไทย ภายใต้แนวคิด Local Economy ที่มุ่งส่งเสริมการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ยกระดับการประกอบธุรกิจ และเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร และผู้ประกอบการ SMEs ในแต่ละท้องถิ่น ให้สามารถขยายตลาดได้ รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงสู่ประเทศเพื่อนบ้านเป็นสำคัญ ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน ได้ผลักดันและส่งเสริม ให้มีการจัดตั้งตลาดกลางสินค้าเกษตร เพื่อให้เป็นสถานที่ศูนย์กลาง ให้ผู้ซื้อผู้ขายจานวนมาก มาซื้อขายสินค้าเกษตรในลักษณะขายส่ง โดยวิธีต่อรองราคา เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ให้สามารถขายผลผลิตได้โดยตรง และขายได้ในราคาที่สูงขึ้น


        ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานภายใต้แนวคิด Local Economy ที่ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงระบบห่วงโซ่อุปทาน จากระดับชุมชนไปยังระดับภูมิภาค และต่อยอดเชื่อมโยง ไปยังประเทศเพื่อน บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน จึงจำเป็น ต้องพัฒนากลไกการเชื่อมโยงในทุกระดับ ตลอดจนขับเคลื่อนการสร้างความร่วมมือด้านการค้า ระหว่างผู้ประกอบการไทยและผู้ประกอบการในประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ซึ่งเป็นมิตรประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกัน มีความสัมพันธ์ทางด้านสังคม และกิจกรรมการค้าระหว่างกันมาช้านาน กอรปกับสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ ที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากเม็ดเงินลงทุนจากนานาประเทศที่หลั่งไหลเข้าสู่เมียนมา ส่งผลให้ภาคการผลิตและการบริโภคของเมียนมาขยายตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคการผลิตและการบริโภคสินค้าเกษตรและอาหาร

         รศ.ดร. อัทธ์ กล่าวต่อว่าจากที่กล่าวมาข้างต้น จึงเป็นที่มาของการจัดกิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจ ไทย –เมียนมา ในวันนี้ เพื่อเปิดช่องทางการพบปะเจรจากันโดยตรง ระหว่างนักธุรกิจไทยและนักธุรกิจเมียนมา รวมถึงการรวบรวมข้อมูล การบริโภค และความต้องการผักผลไม้ของทั้งสองประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายส่งเสริม และสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศต่อไป สาหรับผู้ประกอบการจากเมียนมาที่มาวันนี้ประกอบด้วย เกษตรกร และผู้นำเข้าส่งออกผัก ผลไม้ และสินค้าเกษตรต่างๆ ในส่วนของผู้ประกอบการไทยประกอบด้วย กลุ่มเกษตรกร ผู้ส่งออกผลไม้สด และผลไม้แปรรูป ได้แก่ มะม่วง มะพร้าว เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง และมะขามหวาน และตลาดกลางผักและผลไม้ของไทย” รศ.ดร. อัทธ์ กล่าว

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...