ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เศรษฐกิจชุมชน ย้อนกลับ
ภาคธุรกิจผิดหวัง 'กนง.' คงดอกเบี้ย 2.50% เร่งปรับตัวรับต้นทุนการเงินสูง
08 ก.พ. 2567

“WHA” มองครึ่งปีหลัง “กบง.” น่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง แง้มแผนธุรกิจพ้นวิกฤติดอกเบี้ยขาขึ้นเน้นออกบอนด์ระยะสั้น และออกช่วงปลายปี “SYNEX” ย้ำ ดอกเบี้ยถึงสิ้นปีไม่ควรเกิน 2%

 

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเมื่อวันที่ 7 ก.พ.2567 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% ต่อปี โดยด้วยมติ 5 ต่อ 2 เสียง โดย 2 เสียง เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี

นายทวี ปิยะพัฒนา รองประธานอวุโสสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ว่า ที่ประชุมได้หารือถึงนโยบายการเงินที่จะมีการพิจารณาดอกเบี้ยของไทย โดยกรณีการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% ต่อปี สวนทางกับความต้องการของนักลงทุนและภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัว และไม่มีแรงการสนับสนุนการลงทุน โดยท่าทีของเอกชนส่วนใหญ่เห็นว่ารัฐบาลควรปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง

ทั้งนี้ ที่ประชุมมีความเห็นที่หลากหลาย โดยการกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่มีทั้งแง่บวกและแง่ลบ ซึ่งธปท.จะมีข้อมูลเชิงลึกและมีข้อเสนอแนะที่ดีต่อภาพรวมการกระตุ้นเศรษฐกิจต้องมองถึงอัตราเงินเฟ้อค่าเงินในทุกด้าน ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่สามารถเลี่ยงได้โดยฝั่งเอกชนจะพยายามรวบรวมข้อมูลเพื่อลดความเสี่ยงได้มากที่สุด

นางสาวจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ WHA กล่าวว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจจะลดดอกเบี้ยภายในกลางปี 2567 หรือภายในครึ่งปีหลังปี 2567 ควรจะลดอัตราดอกเบี้ยลง

ทั้งนี้ มติ กนง.ดังกล่าวอาจจะรอดูทิศทางของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และหลายอย่างประกอบด้วย ทั้งด้านเศรษฐกิจ และ GDP ประเทศเป็นอย่างไรบ้าง

นอกจากนี้ สำหรับทิศทางการปรับดอกเบี้ยดังกล่าว ทำให้ดับบลิวเอชเอ มีแผนการออกหุ้นกู้เป็นช่วงปลายปี 2567 เพราะอัตราดอกเบี้ยจะลดลง หรือถ้าจะออกในช่วงต้นปีก็ปรับระยะเวลาให้สั่นลงอยู่ในช่วง 3-5 ปี ซึ่งไม่ควรออกยาวในระดับ 7 ปี โดยมีแผนที่จะออกหุ้นกู้ในระดับหมื่นล้านบาท และเมื่อเดือน ม.ค.2567 ได้ออกหุ้นกู้ 850 ล้านบาท ยอดจองเกินเกือบ 3 เท่า 

สำหรับดอกเบี้ยถือเป็นต้นทุนทางธุรกิจที่มากน้อยขึ้นกับแต่ละธุรกิจ โดยผู้ประกอบการจะต้องบริหารต้นทุนดอกเบี้ยให้ดี ซึ่งไม่ได้บริหารเฉพาะดอกเบี้ยแต่ต้องบริหารต้นทุนทางการเงินอื่น 

ทั้งนี้ ถ้าเทียบระหว่างบอนด์กับสินเชื่อธนาคาร บริษัทฯ ใหญ่เราจะใช้บอนด์อยู่แล้ว เพราะดอกเบี้ยจะต่ำกว่า รวมทั้งมีการบริหารจัดการร่วมกันทั้ง 2 รูปแบบ เพราะธนาคารก็เริ่มลดดอกเบี้ยสู้บอนด์ เราใช้เงินจากธนาคารก็สามารถคืนเงินได้เร็วขึ้นได้ ดังนั้น ถ้าดอกเบี้ยคงที่ได้ ก็อาจจะออกบอนด์ช่วงสิ้นปี ซึ่งส่วนตัวมองว่าอยู่ที่การบริหารจัดการแต่ละบริษัทมากกว่า

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานกรรมการ บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ SYNEX กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยในขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาโดยตลอด ซึ่งจะเห็นชัดว่าเศรษฐกิจประเทศไม่ดีโดยเฉพาะกลุ่มรากหญ้า หนี้ครัวเรือนสูงมากกว่าประเทศอื่น ซึ่งการปรับอัตราดอกเบี้ยทุกครั้งจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว

ดังนั้น ดอกเบี้ยควรลงอีก จึงเห็นว่า ธปท.น่าจะเห็นจุดนี้และควรลดดอกเบี้ย โดยไม่ต้องกังวลอัตราเงินเฟ้อที่ติดลบมาต่อเนื่อง 4 เดือน และ ธปท.ต้องยอมรับการคาดการณ์เศรษฐกิจปลายปีจะดีขึ้นแต่ไม่ดีขึ้น โดยในเดือน ม.ค.-ก.พ.2567 มีมาตรการ Easy e-Receipt เพื่อลดหย่อนภาษีสูงสุดได้ 50,000 บาท เพื่อให้ประชาชนออกมาใช้จ่าย แต่การบริโภคยังชะลอตัว

นอกจากนี้ การที่ กนง.คงอัตราดอกเบี้ยอาจกระทบภาคธุรกิจ โดยเฉพาะการกู้เงินจากธนาคารที่กระทรวงการคลังต้องมีช่วยเหลือต้นทุนทางการเงินจากธนาคารรัฐ  แต่สถานการณ์ปัจจุบันจะเห็นว่าธนาคารมีกำไรมากขึ้น

“ในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น เราต้องลดค่าใช้จ่ายลง ควบคุมสินค้าให้ดีขึ้น การจะลงทุนก็จะต้องมีความละเอียดรอบคอบมากขึ้น โดยใช้เงินที่เกิดความจำเป็น ดูว่าผลตอบแทนคุ้มค่าหรือไม่ เป็นสิ่งที่ลำบาก เพราะลูกหนี้เก็บเงินเร็วขึ้นก็จะยาก จึงต้องพยายามให้เก็บขึ้นและจ่ายเงินให้ช้าลง ซึ่งยอมรับว่าไม่ง่าย”

ทั้งนี้ มองว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไปด้วยเหตุผลอะไร จะรอดูทิศทางเฟดไปทำไม คนละประเทศกัน เพราะเศรษฐกิจมีการคาดการณ์ไว้แล้ว อสังหาริมทรัพย์ก็ดีขึ้น ดังนั้น กนง.ก็ควรลดอัตราดอกเบี้ยได้แล้ว และควรลดลงทุกครั้ง ถึงสิ้นปีไม่ควรเกิน 2% เพราะเงินเฟ้อติดลบอยู่ เงินเฟ้อไม่ถึง 2% ดอกเบี้ยสูงเกิน 2% ไปแล้ว

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...