ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
พลังงาน / สิ่งแวดล้อม ย้อนกลับ
สทนช.ลุ้นน้ำไหลเข้าอ่างฯ เพิ่ม
09 ก.ค. 2562

แหล่งน้ำอีสาน – กลาง น้ำยังไม่เข้าเป้า ลุ้นปลายเดือนก.ค.ฝนส่อเพิ่ม พร้อมประสานฝนหลวงเพิ่มความถี่ปฏิบัติการฝนหลวง หลังวิเคราะห์ข้อมูลฝนน้อยพบ 160 อ. 21 จว. นอกเขตชลประทานเสี่ยงขาดน้ำ สนทช. มอบ ชป. กฟผ. พพ. ติดตามประเมินน้ำไหลเข้าอ่างฯ เพื่อทบทวนแผนการจัดสรรน้ำก่อนสิ้นฤดูฝนนี้ ต่อเนื่องถึงแล้งหน้า

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า กรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. คาดการณ์ปรากฏการณ์เอลนีโญกำลังอ่อนมีแนวโน้มสูงที่จะเกิดต่อเนื่องไปจนถึงสิงหาคม จะทำให้มีปริมาณฝนตกน้อย และระยะต่อจากนี้ช่วงวันที่ 5-15กรกฏาคม 2562 จะเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ซึ่งสทนช.ได้วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำโดยใช้ข้อมูลฝนสะสมของกรมอุตุนิยมวิทยาและสสน. พบว่า มีพื้นที่มีปริมาณฝนตกน้อยนอกเขตชลประทานที่มีความเสี่ยงขาดแคลนน้ำ         จำนวน 160 อำเภอ 21 จังหวัด ได้แก่ ภาคเหนือ 34 อำเภอ 6 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 71 อำเภอ 8 จังหวัด และภาคใต้ 55 อำเภอ 7 จังหวัด ส่วนในสัปดาห์ที่ 3-4 ของเดือนกรกฏาคม ปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้นและมีฝนตกชุกหนาแน่น โดยเฉพาะภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก

 สำหรับการคาดหมายปริมาณฝน 3 เดือนล่วงหน้า ตั้งแต่ ก.ค.-ก.ย.62 กรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่า ปริมาณฝนรวม บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะมีปริมาณฝนต่ำกว่าค่าปกติร้อยละ 5 ส่วนภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันออก จะมีปริมาณฝนใกล้เคียงค่าปกติ แต่บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก จะสูงกว่าค่าปกติร้อยละ 5 ทั้งนี้ อาจมีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือผ่านทะเลจีนใต้ และมีโอกาสสูงที่จะเคลื่อนตัวผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ 1ลูก ในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน  

          ขณะที่สถานการณ์น้ำในแหล่งน้ำทั้งประเทศ มีปริมาณน้ำรวม 39,622 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 49% โดยแหล่งน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ 38 แห่ง พบว่า ยังไม่มีแหล่งน้ำที่มีน้ำมากกว่า 80 % มีเพียงแหล่งน้ำที่อยู่ในเกณฑ์ระหว่า 60-80% อยู่ในภาคตะวันออก และภาคใต้ รวม3  แห่ง ได้แก่ เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนรัชชประภา และเขื่อนบางลาง ขณะที่แหล่งน้ำขนาดกลางความจุ 2 ล้าน ลบ.ม. ที่มีปริมาณน้ำมากกว่า 100% จำนวน 1 แห่ง คือ อ่างเก็บน้ำด่านชุมพล จ.ตราด ปริมาณน้ำ 80-100%  จำนวน 11 แห่ง และปริมาณน้ำ 60-80%จำนวน 37 แห่ง ตามลำดับ ซึ่งมีการบริหารจัดการน้ำเพื่อใช้ในพื้นที่โดยไม่กระทบ ทั้งเสี่ยงท่วมและแล้ง ขณะที่แหล่งน้ำขนาดใหญ่อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังน้ำน้อยกว่า 30% มีจำนวน 15 แห่ง แบ่งเป็น ภาคเหนือ  2 แห่ง ได้แก่ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6 แห่ง ได้แก่ เขื่อนห้วยหลวง เขื่อนน้ำพุง เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนลำปาว เขื่อนลำพระเพลิง เขื่อนลำนางรอง ภาคตะวันออก 3 แห่ง ได้แก่ เขื่อนขุนด่านปราการขล เขื่อนคลองสียัด เขื่อนนฤบดินทรจินดา ภาคกลาง 4 แห่ง ได้แก่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนทับเสลา เขื่อนกระเสียว และบึงบอระเพ็ด โดยแหล่งน้ำขนาดกลางน้ำน้อยกว่า 30% จำนวน 129 แห่ง แบ่งเป็น ภาคเหนือ 15 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 89 แห่ง ภาคตะวันออก แห่ง ภาคกลาง 11 แห่ง ภาคตะวันตก แห่ง และภาคใต้ 3 แห่ง

         “จากสภาพความแปรปรวนของสภาพอากาศที่มีทั้งพื้นที่เสี่ยงที่จะประสบปัญหาฝนทิ้งช่วง และฝนตกหนักในบางพื้นที่ สทนช.ได้เน้นย้ำการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ (กฟผ.) กรมชลประทาน และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ทบทวนการคาดการณ์ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯ ปรับแผนการจัดสรรน้ำจนสิ้นสุดฤดูฝน รวมถึงคาดการณ์ถึงแผนการจัดสรรน้ำในฤดูแล้งหน้าด้วย เนื่องจากพบว่าปริมาณฝนตกในเดือน มิ.ย.น้อยกว่าคาดการณ์ถึงร้อยละ 30 ประกอบกับปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างทั่วประเทศจากพายุ "มูน" มีปริมาณน้อยมากเช่นกัน ดังนั้น จึงต้องบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำให้สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศ และเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำ (Rule Curveที่ปรับปรุงใหม่ที่มีความยืดหยุ่นกับสภาพความเป็นจริง            เพื่อเฝ้าระวังเขื่อนที่น้ำอาจจะมากในพื้นเหนือเขื่อนที่มีการคาดการณ์ว่าจะมีน้ำไหลเข้าเขื่อนเพิ่มขึ้น ก็ต้องมีการระบายน้ำ   โดยไม่ให้กระทบกับพื้นที่ท้ายน้ำ แต่ขณะนี้ยังไม่มีเขื่อนใดจำเป็นที่จะต้องเร่งการระบายน้ำ เขื่อนทุกแห่งยังสามารถรองรับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเร่งการเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งปีถัดไป โดยขณะนี้สทนช.ได้ประสานฝนหลวงเพิ่มความถี่ปฏิบัติการฝนหลวงเติมน้ำในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำจากฝนทิ้งช่วง โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคอีสาน โดยล่าสุดมีปฏิบัติการฝนหลวงเติมน้ำในอ่างฯ ( 8 ก.ค. 62) ในพื้นที่ จ.พะเยา แพร่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เพชรบูรณ์ ลพบุรี กาญจนบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และ จ.อุบลราชธานี รวมถึงแจ้ง 4 กระทรวงที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงพลังงาน พิจารณากำหนดมาตรการป้องกันภาวะเสี่ยงขาดแคลนน้ำ รวมทั้งจัดหาแหล่งเก็บกักน้ำเพื่อสำรองใช้ในช่วงฝนทิ้งช่วง และในระยะยาวด้วย” นายสมเกียรติ กล่าว

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...