ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ย้อนกลับ
กทม.แนะเลือกบริโภคน้ำแข็งบรรจุถุง-แก้วไร้ปนเปื้อน
25 มี.ค. 2559

          นพ.ชวินทร์ ศิรินาค ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กทม. กล่าวถึงช่วงอากาศร้อนประชาชนทั่วไปนิยมบริโภคน้ำแข็งใส่ในเครื่องดื่มเพื่อคลายร้อน ซึ่งสำนักอนามัยได้สำรวจพบน้ำแข็งที่จำหน่ายในสถานที่จำหน่ายอาหาร ร้อยละ 64.62 ของตัวอย่างที่สุ่มตรวจ พบการปนเปื้อนทางด้านจุลินทรีย์ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะเชื้อ Coliforms ซึ่งอยู่ในลำไส้ของคนและสัตว์เลือดอุ่น โดยจะถูกขับถ่ายออกมากับอุจจาระ หากรับประทานอาหารและน้ำที่มีการปนเปื้อนก็จะทำให้มีอาการท้องร่วง ท้องเสีย อาเจียน เป็นไข้ ปวดศีรษะ หรืออาจเสียชีวิตได้

          ทั้งนี้ผู้อำนวยการสำนักอนามัย ยังกล่าวอีกว่า สำนักอนามัยได้ร่วมกับสำนักเขต 50 เขต สำรวจการขนส่งน้ำแข็งในพื้นที่ของกรุงเทพฯพบว่ามีการขนส่งที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ส่วนใหญ่เป็นรถกระบะเปิดโล่ง มีผ้าใบปกคลุม บรรจุน้ำแข็งในถุงกระสอบ ซึ่งเมื่อได้ทดลองเปรียบเทียบการบรรจุน้ำแข็งในถุงพลาสติกและถุงกระสอบ พร้อมสุ่มเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาการปนเปื้อนด้านจุลินทรีย์ พบว่าตัวอย่างน้ำแข็งบรรจุถุงพลาสติก ร้อยละ 100 ไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ และตัวอย่างน้ำแข็งบรรจุถุงกระสอบมีการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ ร้อยละ 31.5

          ดังนั้นจึงอยากรณรงค์ให้ผู้ประกอบการขนส่งน้ำแข็งใช้ถุงพลาสติกในการบรรจุน้ำแข็งแทนการใช้ถุงกระสอบ ภาชนะรองรับน้ำแข็งต้องสะอาด และดูแลสุขอนามัยของผู้ขนส่งน้ำแข็ง เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ สำหรับประชาชนควรเลือกบริโภคน้ำดื่ม น้ำแข็งที่สะอาด ถูกหลักอนามัย เลือกซื้อน้ำแข็งที่บรรจุในถุงหรือแก้วพลาสติกพร้อมบริโภค และสังเกตรายละเอียดบนฉลากภาชนะบรรจุน้ำแข็ง ดูเครื่องหมาย อย. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต ที่มีข้อความระบุว่า “น้ำแข็งใช้รับประทานได้” หากจะบริโภคน้ำแข็งที่ใช้ตักแบ่งขายในร้านอาหาร ควรหลีกเลี่ยงน้ำแข็งที่ขนส่งโดยถุงกระสอบ น้ำแข็งต้องมีความใส สะอาด ปราศจากเศษฝุ่นละอองปนเปื้อน ภาชนะบรรจุน้ำแข็งต้องสะอาด และผู้จำหน่ายต้องไม่นำสิ่งของอื่นมาแช่ปะปนกับน้ำแข็งบริโภค เพื่อเป็นการป้องกันโรคระบบทางเดินอาหาร

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...