ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
เกษตรนำไทย ย้อนกลับ
ลุยพัฒนาเมืองเกษตรอัจฉริยะต้นแบบ
02 ม.ค. 2563

นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายคมสัน จำรูญพงษ์ และนางดาเรศร์ กิตติโยภาส ลงพื้นที่เพื่อติดตามการพัฒนาการเกษตรอัจฉริยะ ณ ศูนย์บริการการพัฒนาปลวกแดงตามพระราชดำริ จังหวัดระยอง เพื่อขับเคลื่อนให้ศูนย์บริการการพัฒนาปลวกแดงตามแนวพระราชดำริ 4 ประการ คือ 1. ให้พัฒนาด้านการเกษตร โดยเฉพาะปศุสัตว์และการประมงเพื่อการบริโภค 2. ให้มีศูนย์ฝึกปฏิบัติการด้านการประกอบอาชีพโดยมีแปลงสาธิตของราษฎรตัวอย่าง 4 แปลง แปลงละ 4 ไร่ สร้างบ้านพักอาศัยที่อยู่ โดยปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ควบคู่กันไป การดำเนินธุรกิจฟาร์มในรูปสหกรณ์และราษฎรหมุนเวียนเข้าอยู่

3. ให้จัดเป็นศูนย์กลางส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ โดยให้เกษตรกรยืม พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ที่ดีไปผสมหรือเลี้ยงสัตว์เพื่อส่งลูกคืน และ 4. ให้มีศูนย์พัฒนาการเกษตร จะได้ศึกษาและเยี่ยมชมเพื่อนำเอาเป็นแบบอย่างการดำเนินงาน รวมทั้ง เพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรอัจฉริยะต้นแบบ เชื่อมโยงการท่องเที่ยวผ่านการทำงานบูรณาการทุกภาคส่วนทั้งระดับส่วนกลางและระดับพื้นที่

นายนราพัฒน์ล่าวว่า ปัจจุบันกระทรวงเกษตรกำลังพัฒนาฐานข้อมูล (Big data) เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารในการดำเนินนโยบายและประชาชนทั่วไป สามารถตอบโจทย์เกษตรกรรุ่นใหม่ ที่เน้นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี หากมีศูนย์เรียนรู้อัจฉริยะเช่นนี้ จะเป็นสิ่งที่ประจักษ์ได้จริง สร้างการถ่ายทอดได้อย่างชัดเจน

ทั้งนี้ นายนราพัฒน์ยังได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแนวความคิดของเกษตรกรในการทำเกษตรยุคใหม่ สร้างช่องทางการหาตลาดเพิ่มขึ้น สามารถเป็นผู้ประกอบการรายย่อยได้เอง หรืออนาคตพัฒนาเป็นผู้ส่งออก หากมีการบูรณาการร่วมกันก็จะเป็นประโยชน์ ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้ผลักดันให้เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล

สำหรับศูนย์บริการการพัฒนาปลวกแดงตามพระราชดำริ บนพื้นที่ 1,300 ไร่ มีฐานการเรียนรู้จากหน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 7 ด้าน ได้แก่ งานชลประทาน งานปศุสัตว์ งานประมง งานพัฒนาที่ดิน งานวิชาการเกษตร งานด้านข้าว และงานพืชสวน ซึ่งที่นี่จะเป็นที่พึ่งของเกษตกรและประชาชนในจังหวัดและในประเทศไทยในการช่วยเหลือส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับเกษตรกร เพื่อให้พวกเขาสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามแนวพระราชดำริ ผสมผสานกับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในยุคไทยแลนด์ 4.0 

โดยตัวอย่างการพัฒนาการเกษตรอัจฉริยะ ได้แก่ การออกแบบสวนทุเรียนสมัยใหม่ เช่น ทุเรียนระยะชิด ทุเรียนต้นคู่ และทุเรียนกางแขน โดยใช้ระบบน้ำมินิสปริงเกลอร์ เครื่องจักรพ่นยา การใช้แอปพลิเคชันในมือถือควบคุมการให้น้ำ มีระบบเซนเซอร์ การควบคุมความชื้นในดิน และใช้งานวิจัยในการยกโคกเพื่อทำดินให้ฟู และรากไม่เน่า จากเดิมการปลูกทุเรียนปกติ 8*8 ต่อ 1 ไร่ ปลูกได้ 20 - 25 ต้น ผลผลิตเฉลี่ย 1,800 กิโลกรัม หากปลูกแบบสมัยใหม่จะสามารถอำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกรง่ายขึ้นในการทำการเกษตร และลดต้นทุนการใช้แรงงาน รวมถึงผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นด้วย

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...