ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
สธ.รายงานสถานการณ์ไวรัสโคโรนา-2019ล่าสุด
04 มี.ค. 2563

1.สถานการณ์ ถึงวันที่ 4 มีนาคม 2563 ณ เวลา 08.00 น.         

             1. ผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรักษาในโรงพยาบาล 11 ราย กลับบ้านแล้ว 31 ราย เสียชีวิต 1 ราย รวมสะสม 43 ราย

             2. ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม – 3 มีนาคม 2563 มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนต้องเฝ้าระวังสะสมทั้งหมด 3,680 ราย คัดกรองจากทุกด่าน 104 ราย มารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอง 3,576 ราย อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้วและอยู่ระหว่างติดตามอาการ 2,135 ราย ส่วนใหญ่เป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ยังคงรักษาในโรงพยาบาล 1,545 ราย

           3. สถานการณ์ทั่วโลกใน 75 ประเทศ ข้อมูลตั้งแต่ 5 มกราคม – 4 มีนาคม 2563 (07.00 น.) พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจำนวน 92,321 ราย เสียชีวิต 3,137 ราย ส่วนประเทศจีนพบผู้ป่วย 80,152 ราย เสียชีวิต 2,945 ราย

 

2.สธ.เผยสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ไทยอยู่อันดับที่ 17 ของโลก

          กระทรวงสาธารณสุขเผยสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไทยอยู่อันดับที่ 17 ของโลก พร้อมมีมาตรการเร่งด่วนด้านการป้องกันโรค 14 ข้อ

          นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน สาธารณสุขนิเทศก์และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข และคณะแถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ว่า วันนี้ผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรักษาในโรงพยาบาล 11 ราย กลับบ้านแล้ว 31 ราย เสียชีวิต 1 ราย รวมสะสม 43 ราย อาการหนัก 1 ราย ทำให้ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 17 ของโลก ซึ่งประเทศไทยยังคงเฝ้าระวังอย่างเข้มงวดเพื่อชะลอไม่ให้ประเทศไทยเข้าสู่การแพร่ระบาดในวงกว้าง ซึ่งโรคนี้ป้องกันได้ด้วยการ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือบ่อย ใส่หน้ากากอนามัย

            พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรีได้มีมาตรการเร่งด่วนสำหรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้านการป้องกันโรค ทั้งหมด 14 ข้อ ได้แก่ 1.ให้ทุกหน่วยดำเนินตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด 2.ติดตามดูแลคนไทยในประเทศที่มีการแพร่ระบาดของเชื้ออย่างใกล้ชิด 3.ทุกส่วนราชการระงับ/เลื่อนการเดินทางไปประเทศที่มีการแพร่ระบาดและประเทศเฝ้าระวัง 4.เตรียมสถานที่สังเกตอาการ คัดกรองผู้ป่วย 5.เจ้าหน้าที่ส่วนราชการที่เดินทางกลับจากประเทศที่มีการแพร่ระบาดต้องกักตัว 14 วันไม่ถือเป็นวันลา 6.จัดหาเวชกัณฑ์อุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นเพิ่มเติมและหากจำเป็นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานของบประมาณเพิ่มเติม 7.ตั้งศูนย์ข้อมูลมาตรการแก้ปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ทำเนียบฯ 8.ให้มีการประชุมเตรียมพร้อมป้องกันสม่ำเสมอ 9.ทุกหน่วยงานเร่งจัดหาสินค้าที่ใช้ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคให้พียงพอกับความต้องการ 10.ดูแลบุคลากรทางการแพทย์อย่างเหมาะสม 11.กระทรวงพาณิชย์ป้องกันการกักตุนสินค้าและควบคุมราคา 12.กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงสาธารณสุขบูรณาการและเชื่อมโยงข้อมูลรองรับพ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 13.กระทรวงคมนาคมคัดกรองผู้โดยสารอย่างเคร่งครัด และ14.ขอความร่วมมืองดจัดกิจกรรมที่ต้องมีการรวมตัวของประชาชน

             ส่วนผู้ที่เดินทางกลับจากประทศที่มีการระบาดเมื่อพบมีไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อย อย่างใดอย่างหนึ่งให้ประสานสถานพยาบาลเพื่อนำสู่ระบบการตรวจรักษาที่เหมาะสมต่อไป หากไม่พบอาการต้องสงสัย ให้กักตัวเองในที่พัก 14 วัน(Self quarantine at home) และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ดังนี้ สวมหน้ากากอนามัยอยู่ห่างจากคนอื่น 1-2 เมตร หยุดเรียน/ทำงาน งดร่วมกิจกรรมต่างๆ นอนห้องแยก ปิดปาก จมูกทุกครั้งที่ไอ จาม ทำความสะอาดที่พัก ของใช้ แยกของใช้ ทานอาหารแยกกับผู้อื่น ใช้ช้อนกลาง ทิ้งหน้ากากอนามัยให้ถูกวิธีหลีกเลี่ยงใกล้ชิดผู้อื่นโดยเฉพาะผู้ป่วย เด็ก ผู้สูงอายุ หากมีไข้ ไอ มีน้ำมูกเจ็บคอ หายใจเหนื่อย ให้รีบพบแพทย์พร้อมแจ้งประวัติการเดินทาง

             ส่วนเรื่องแรงงานไทยในประเทศเกาหลีใต้ในวันนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน กระทรวงคมนาคม สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และฝ่ายความมั่นคง เพื่อวางแผนร่วมกัน ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขจะดูแลป้องกันการระบาด ดำเนินการตามหน้าที่และพร้อมที่จะดำเนินการตามข้อสั่งการต่อไป

3. คำแนะนำสำหรับประชาชน

          3.1 ประชาชนที่มีประวัติเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ที่มีการรายงานพบผู้ป่วย หลังเดินทางกลับประเทศไทยภายใน 14 วัน ถ้ามีอาการไข้ เจ็บคอ มีอาการระบบทางเดินหายใจ เช่น น้ำมูกไอ เสมหะ หายใจเร็ว หอบให้สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ และรีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที พร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทาง เนื่องจากมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนปอดบวม และมีอาการรุนแรง ถึงขั้นเสียชีวิตได้

          3.2 ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปต่างประเทศที่มีการระบาด และหากจำเป็นต้องเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาด ขอให้หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย หลีกเลี่ยงไปตลาดค้าสัตว์มีชีวิตการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ที่ป่วย หรือตาย

          3.3 ประชาชนทั่วไป ขอให้ดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศแปรปรวน ใช้มาตรการ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ และสวมหน้ากากป้องกันโรค เวลาไอ จาม หลีกเลี่ยงอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการโรคระบบทางเดินหายใจ

 

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...