ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
อุทยานแห่งชาติไทรโยค ประชุมคณะกรรมการ PAC โชว์กึ๋นป้องกันไฟไหม้ป่า หมอกควัน ฝุ่นละออง PM 2.5 ผลักดันช้างป่า รองรับนักท่องเที่ยวเข้ามาพักผ่อน
11 ม.ค. 2567

     ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อุทยานแห่งชาติไทรโยค ประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษา (PAC) ครั้งที่ 1/2567 ที่ห้องประชุมศูนย์ประสานงานและควบคุมมาตรฐานงานลาดตระเวนอุทยานแห่งชาติไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี โดยมี นายเนรมิต เหลืองอร่ามฟ้า นายอำเภอไทรโยค มอบหมายให้ นายโชคชัย อู่โภคิน ปลัดอำเภอไทรโยค เป็นประธานการประชุมฯ พร้อมด้วย  นายกรีฑา เชื้อชูชาติ ผู้แทน ผอ.สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.กาญจนบุรี  นายวงศกร นราธาวา ผู้อำนวยการ สนง.เจ้าท่าภูมิภาคสาขากาญจนบุรี ร.ท.เสกสันต์  อุตโรกุล นายทหารการข่าว ฉก.ลาดหญ้า น.ส.ธรรมศรณ์ โค้วสกุลพาณิชย์ ประธานชมรมผู้ประกอบการการท่องเที่ยว อ.ไทรโยค นายเจนจบ ชูชีพ เลขานุการผู้แทนนายกสมาคมสื่อมวลชน จ.กาญจนบุรี นายอดิศร ด่านพาณิชย์ หน.สวนป่าวังกระแจะ นายสาคร สืบสาย หัวหน้าอุทยานแห่งชาติไทรโยค น.ส.ดวงพร  พันธุ์สาคร ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติไทรโยค หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องถิ่นเข้าร่วมประชุมครั้งนี้

   ในระเบียบวาระที่ 2 การรับรองการรายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมาโดย นายสาคร สืบสาย กรรมการและเลขานุการเป็นผู้รายงาน สรุปผลการดำเนินการในปีที่ผ่านมา ในระเบียบวาระที่ 3 เรื่องการจัดตั้งศูนย์สั่งการและติดตามสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน (War Room) พื้นที่อนุรักษ์แบบบูรณาการเชิงพื้นที่อุทยานไทรโยค มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าประจำปีงบประมาณ 2567 โครงการบูรณะเพื่อแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและลดฝุ่นละออง PM 2.5 โครงการแก้ไขปัญหาสัตว์ป่าที่ออกนอกพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า จัดชุดเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่า ตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังช้างป่าและสัตว์ป่าออกนอกพื้นที่อนุรักษ์ประจำปีงบประมาณ 2567 โครงการปลูกป่าเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำป่าชายเลนและป้องกันไฟป่า เนื้อที่เป้าหมาย 463.05 ไร่ 

    โครงการนักเรียนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงานอุทยานแห่งชาติ แนวทางการจัดการเรือแพผู้ประกอบการท่องเที่ยวในอุทยานไทรโยคประกาศอุทยานแห่งชาติไทรโยค เรื่องมาตรการด้านความปลอดภัยทางน้ำ การขออนุญาตดำเนินกิจการเพื่อการท่องเที่ยวที่เป็นประโยชน์ประเภทที่ 2 กิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวซึ่งเป็นพื้นที่เฉพาะกิจการนั้นประเภทกิจการแพ ในอุทยานแห่งชาติไทรโยคการขออนุญาตดำเนินการเพื่อการท่องเที่ยวที่เป็นประโยชน์ประเภทที่ 3 กิจการให้บริการนำเที่ยวแก่นักท่องเที่ยวประเภทการบริการนำเที่ยวโดยใช้เรืออันเดิมเครื่องด้วยเครื่องกลในอุทยานแห่งชาติไทรโยค การต่อใบอนุญาตเพื่อการท่องเที่ยวที่เป็นประโยชน์ประเภทที่ 1 กิจการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มของที่ระลึกในอุทยานแห่งชาติไทรโยค การรายงานสถิติเงินรายได้และจำนวนนักท่องเที่ยวประจำปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2565-7 มกราคม 2567) 

    สถิติคดี ระหว่าง (ตุลาคม 2566-มกราคม 2567)มีโครงการแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดกาญจนบุรีโครงการปรับปรุงอาคารร้านค้าจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มของที่ระลึกแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกไทรโยคใหญ่โครงการแก้ไขปัญหาช้างป่าออกป่า และวาระสุดท้ายโครงการเสนอขอใช้เงินอุทยานแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2568 โครงการซ่อมแซมเส้นทางศึกษาธรรมชาติเฉลิมพระเกียรติสายประวัติศาสตร์ชมเรือนยอด โครงการซ่อมแซมบ้านพักเจ้าหน้าที่ 1 ห้องนอนประจำอุทยานแห่งชาติไทรโยค โครงการซ่อมแซมอาคารบ้านพักคนงานขนาด 4 ครอบครัว ประจำหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติไทรโยคที่ ทย.1 (ไทรโยคน้อย) โครงการจัดซื้อหม้อแปลงไฟฟ้าขนาด 100 KVA.3P ประจำเดือนแห่งชาติไทรโยค โครงการชุดเคลื่อนที่เร็วเฝ้าระวังผลักดันช้างป่าและแก้ไขปัญหาช้าง ป่าออกนอกพื้นที่อนุรักษ์

    นายสาคร สืบสาย หัวหน้าอุทยานแห่งชาติไทรโยค เปิดเผยว่า ปัญหาในพื้นที่ในการในความรับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติไทรโยค โดยรวม 6 แสนไร่เศษ ได้ประสบปัญหาในปีที่ผ่านมา คือการถูกไฟไหม้ โดยพื้นที่รวมความเสียหายประมาณ 2 แสนไร่ ในส่วนของการปฏิบัติ ทางกระทรวง กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติและสัตว์ป่าสหพันธ์พืช ได้ ให้นโยบายเรื่องการป้องกันไฟป่า โดยรวมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการที่ผ่านซึ่งมติของคณะกรรมการ ทั้งหมด ได้ยกมือเห็นชอบในการบรรจุเข้าสู่งบประมาณจากส่วนกลางเพื่อสนับสนุนโดยได้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาได้เสนอแนะแนวทาง ถึงการของบประมาณในจังหวัดเพิ่มเติม เพื่อความรวดเร็ว ในการพัฒนาต่อไป
   ///////////////////////////////////////////////////
ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา   ไหลวารินทร์ - รายงาน

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...