ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
เครื่องสกัดเทอร์ปีนและน้ำมันหอมระเหยแบบเคลื่อนที่ นวัตกรรมเพื่อผลิตสารมูลค่าสูงจากไม้ดอกและสมุนไพรไทย
25 มี.ค. 2567

น้ำมันหอมระเหยจากไม้ดอกและสมุนไพรบางชนิด เป็นสารสกัดมูลค่าสูงที ่กำลังเป็นที ่นิยมใน ตลาดโลก ด้วยคุณสมบัติอันหลากหลายที ่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทั ้งในด้านสุขภาพ ความงาม และ เวชภัณฑ์ ข้อมูลจาก imarcgroup.com พบว่าในปี 2566 ตลาดน้ำมันหอมระเหยทั่วโลกมีมูลค่าสูงถึง 12.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีแนวโน้มจะเติบโตอย่างต่อเนื ่องแตะ 24.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2575 เช่นเดียวกับตลาดน้ำมันหอมระเหยในประเทศไทยที่ในปี 2565 ตลาดน้ำมันหอมระเหยเติบโตและมี มูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาท (ข้อมูลจาก positioningmag.com) ด้วยโอกาสในการแข่งขันในตลาดโลกผนวกกับจุดแข็งของประเทศไทยที ่มีทรัพยากรทาง ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายด้านพันธุ์พืชทั ้งไม้ดอกและสมุนไพรมากกว่า 20,000 ชนิดถือ เป็นแหล่งวัตถุดิบชั ้นดีสำหรับการสกัดน้ำมันหอมระเหย ทีมวิจัยจากภาควิชาวิศวกรรมอาหาร คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 

9%

ซึ่งประกอบด้วย ผศ. ดร.อาลักษณ์ ทิพย รัตน์ ผศ. ดร.จักรภพ วงศ์วิวัฒน์ ดร.ภัทรินทร์ สุพานิชวาทิน และ นายธนบดี มีลาภ จึงร่วมกันคิดค้น “เครื ่องสกัดเทอร์ปีนและน้ำมันหอมระเหยแบบเคลื ่อนที ่จากสมุนไพรและดอกไม้หอมไทยโดยใช้ เทคโนโลยีก๊าซตัวทำละลายควบแน่นที่อุณหภูมิและแรงดันต่ำเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมการผลิต ยาแพทย์แผนไทยและเวชสำอาง” ขึ้นเป็นผลสำเร็จ เครื ่องสกัดเทอร์ปีนและน้ำมันหอมระเหยแบบเคลื ่อนที ่ เป็นวิธีการการสกัดน้ำมันหอมระเหย รูปแบบใหม่ที่เป็นระบบปิด (Close Loop System) โดยใช้ก๊าซเป็นตัวทำละลาย (Solvent) ทำให้เกิดการ ควบแน่นเป็นของเหลว เป็นการสกัดในอุณหภูมิต่ำ -20 องศาเซลเซียส ซึ่งตัว ทำละลายที ่ใช้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หมุนเวียนในระบบปิดได้อย่าง ต่อเนื ่อง วิธีนี ้ทำให้ได้สารสกัดและสาระสำคัญมูลค่าสูงในปริมาณที ่มาก มี ความบริสุทธิ ์สูง ใช้เวลาในการสกัดน้อยลง และสามารถรักษาคุณภาพของ สารสกัดไว้ได้มากขึ ้น ซึ ่งสามารถแก้ไขข้อจำกัดของการสกัดน้ำมันหอม ละเหยวิธีเดิมอย่างการสกัดวิธีสกัดแบบการกลั ่นไอน้ำ (Steam Distillation) หรือ วิธีสกัดด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ (Solvent Extraction) ได้ ผศ. 

ดร.อาลักษณ์ ทิพยรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรม  ศาสตร์ และ หัวหน้าคณะวิจัยฯ กล่าวว่า “จากการทดสอบการสกัดกระท่อม (Mitragyna Speciosa Korth) เพื่อ สกัดสาร “Mitragynine” ที่มีฤทธิ์ในการแก้ปวดคล้ายกับมอร์ฟีน ซึ่งเป็นสารสำคัญที่มีมูลค่าสูงถึง 5 ล้าน บาทต่อกิโลกรัม  ด้วยเครื ่องสกัดเทอร์ปีนและน้ำมันหอมระเหยแบบเคลื ่อนที ่ พบว่าสามารถสกัด

Mitragynine ได้ในปริมาณที ่มากกว่าวิธีการสกัดแบบเดิมหลายเท่าตัว โดยปกติแล้วการสกัดสารจาก กระท่อม ต้องนำใบกระท่อมมาผ่านการอบแห้งที ่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส จนได้เป็นผงกระท่อมแห้ง แล้วจึงนำไปสกัด ซึ่งสามารถสกัดสารออกมาได้ประมาณ 1-2% แต่เมื่อนำมาสกัดด้วยเครื่องสกัดเทอร์ปีน และน้ำมันหอมระเหยแบบเคลื ่อนที ่ สามารถสกัดจากใบกระท่อมสดได้เลย และได้ปริมาณสารสกัด Mitragynine มากถึง 43% ในระยะเวลาเพียง 10 ชั ่วโมงนอกจากปริมาณที ่ได้มากขึ ้นแล้ว วิธีการสกัด รูปแบบนี ้ยังสามารถคงสภาพสารที ่มีสรรพคุณทางยาตัว อื ่น ๆ อย่างสารประกอบกลุ ่มอัลคาลอยด์ (Alkaloids) และ สารประกอบกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ไว้ได้ในระดับ ความเข้มข้นที่มากกว่าวิธีการสกัดปกติ”  “อีกหนึ ่งสิ ่งที ่สำคัญคือเครื ่องนี ้เป็นระบบโม บายด์ (Mobile) สามารถเคลื ่อนย้ายเครื ่องไปสกัดน้ำมันหอมระเหยได้ที ่แปลงปลูกไม้ดอกหรือ สมุนไพรของเกษตรกรได้โดยตรง  จากเดิมที ่ต้องใช้เวลาในการส่งวัตถุดิบไปสกัดที่โรงงาน ซึ่ง ความสดใหม่ของวัตถุดิบที ่ตัดแล้วนำเข้าสกัดทันที จะทำให้สารสกัดที ่ได้มีคุณภาพและปริมาณที่ สูงกว่าวิธีการแบบเดิม ทั้งยังสามารถช่วยแก้ปัญหาให้กับไม้ดอกในช่วงล้นตลาดในพื ้นที ่นั ้นๆ  รวมถึง ความสำคัญอีกประการคือ การสามารถลดคาร์บอนฟุตพรินท์ที ่เกิดจากการขนส่งดอกสดได้อีกด้วย” 

ผศ. ดร.อาลักษณ์ ทิพยรัตน์ กล่าวถึงจุดเด่นของงานวิจัย “ที ่ผ่านมาประเทศไทยนำเข้าเครื ่องสกัดสารมูลค่าสูงอย่างกลุ ่มเทอร์ปีนและน้ำมันหอมระเหยจาก ต่างประเทศมาโดยตลอด ซึ่งมีราคาสูงในระดับหลายสิบล้านบาท ทั้งยังไม่มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับ ผู ้ประกอบการไทย  ดังนั ้นการการที่สามารถคิดค้นและผลิตเครื่องสกัดเทอร์ปีนและน้ำมันหอมระเหยแบบ เคลื ่อนที ่ได้ด้วยตัวเอง นอกจากจะประหยัดงบประมาณในการนำเข้าแล้ว ยังสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ จากงานวิจัยทั ้งหมด ประกอบด้วยการผลิตเครื ่อง การออกแบบกระบวนการผลิต การเลือกตัวทำละลาย หรือการหาวิธีการที ่เหมาะสมในการสกัดพืชหรือสมุนไพรแต่ละชนิด รวมถึงวิธีการซ่อมบำรุงให้กับ บุคลากรไทยได้  ซึ่งเป็นการพัฒนากำลังคนในประเทศให้มีความสามารถมากขึ ้น รวมถึงยังสามารถส่งต่อ องค์ความรู ้ที่ค้นพบให้กับผู ้ผลิตในอุตสาหกรรมน้ำมันหอมระเหยของประเทศได้อีกด้วย จึงเป็นการ ยกระดับอุตสาหกรรมทั้งระบบ เพื่อให้ประเทศไทยพร้อมคว้าโอกาสทองในตลาดสารสกัดมูลค่าสูงในระดับ โลกได้” 

ผศ. ดร.อาลักษณ์ ทิพยรัตน์ ทิ้งท้ายถึงผลงานนวัตกรรมชิ ้นนี ้ที่ได้รับรางวัลนวัตกรรม สิ ่งประดิษฐ์ระดับโลกหลายรางวัล อีกทั ้งยังได้รางวัลระดับดีเด่น (สาขาวิศวกรรมศาสตร์และ อุตสาหกรรมวิจัย) ในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2567” (Thailand Inventors’ Day 2024) ครั ้งที่ 25 จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (อว.) ที่มีการประกาศไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

////////////////// วัฒนะ แก้วก่า/สกลนคร 0819541528
อาจารย์จาก มจธ.ฝากข่าวมาตรับ

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...