ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
คุณภาพชีวิต ย้อนกลับ
สถาบันสุขภาพเด็กฯแนะบันได 10 ขั้นเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในเด็กทารกและเด็กป่วย
09 ส.ค. 2562

ถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ แนะน้ำนมแม่คือวัคซีนหยดแรก ช่วยปกป้องลูกจากการติดเชื้อและโรคภัยต่างๆ พร้อมเผย บันได10 ขั้นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในเด็กทารกและเด็กป่วย

                นายแพทย์ภาสกรชัยวานิชศิริรองอธิบดีกรมการแพทย์เปิดเผยว่า น้ำนมแม่เป็นยาที่คุ้มกันสารพัดโรคมีผลต่อพัฒนาการของสมอง ลดการติดเชื้อในเด็กป่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากอุจจาระร่วง ลดโอกาสการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง และลดความรุนแรงของอาการป่วยด้วยโรคหลอดลมฝอยอักเสบที่เกิดจากไวรัส RSVจึงควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน และหลัง 6 เดือนให้กินนมแม่ควบคู่กับอาหารตามวัยจนอายุ ครบ 2 ปี อย่างไรก็ตามเด็กทารกและเด็กแรกเกิดที่จำเป็นต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล มีโอกาสถูกแยกแม่-ลูก หรือถูกสั่งให้งดนมแม่ด้วยเหตุผลต่างๆ ทำให้ขาดโอกาสที่จะได้รับน้ำนมแม่ ซึ่งเป็นอาหารที่มีคุณค่าและมีความสำคัญที่สุดในชีวิตจึงควรสนับสนุนและหาวิธีที่จะช่วยให้แม่ได้มีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูและรักษาลูกร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ด้วยน้ำนมเมื่อเด็กทารกหรือเด็กป่วยแม่จะต้องปรับตัวและเรียนรู้ไปพร้อมๆกับลูก ตั้งแต่เด็กเข้ารักษาที่โรงพยาบาลจนแข็งแรงกลับบ้านได้และแม่ต้องมีความพร้อมเมื่อออกไปดูแลลูกด้วยตนเองที่บ้านช่วงเวลาที่แม่อยู่กับลูกที่โรงพยาบาลจึงเป็นเวลาที่มีคุณค่ามากควรเปิดโอกาสให้อยู่กับลูกได้อย่างสะดวก และจัดกิจกรรมให้ได้มีโอกาสสัมผัสตัวลูกอย่างใกล้ชิด

                 นายแพทย์อดิศัย​ ภัตตาตั้ง​ ผู้อำนว​ยการ​สถาบันสุขภาพ​เด็ก​แห่งชาติ​มหา​ราชินี​ กล่าวว่าสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ตระหนักถึงความสำคัญของการให้นมแม่ทั้งเด็กป่วยและเด็กปกติจึงได้จัดตั้งคลินิกนมแม่ เพื่อส่งเสริมให้ทารกแรกเกิดป่วยได้กินนมแม่อย่างต่อเนื่อง ให้แม่อยู่กับลูกตลอด 24 ชั่วโมง ฝึกความพร้อมก่อนกลับบ้าน บริการให้คำปรึกษาเรื่องการให้นมบุตร โดยสถาบันสุขภาพเด็กฯได้แนะบันได 10 ขั้นสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในเด็กป่วย ดังนี้ บันไดขั้นที่ 1 การให้ข้อมูลนมแม่ในเด็กป่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับนมแม่กับบิดามารดาและครอบครัวของทารกตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ว่านมแม่มีประโยชน์อย่างไรและมีความจำเป็นมากสำหรับทารกและเด็กป่วย เน้นถึงคุณค่าของนมแม่ในแง่ของการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยและทารกป่วยบันไดขั้นที่ 2 การกระตุ้นการหลั่งน้ำนมให้มาเร็วและต่อเนื่อง แม่ต้องบีบน้ำนม ทุก2-3ชม. จำนวน 8ครั้งต่อวัน เพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนมอย่างเต็มที่ บันไดขั้นที่ 3 การเก็บรักษาน้ำนม บันไดขั้นที่ 4 การเคลือบช่องปากด้วยน้ำนมแม่ การนำนมแม่เคลือบช่องปากลูกทุกๆ 3 ชม. บันไดขั้นที่ 5 ให้แม่โอบกอดลูกเนื้อแนบเนื้อเสริมสร้างความรักความผูกพันของแม่ลูก กระตุ้นการสร้างน้ำนม กระตุ้นให้น้ำนมมาเร็วทำให้ลูกได้รับหัวน้ำนมแม่เร็วขึ้น ลูกดูดนมแม่ได้เร็วขึ้น สร้างความมั่นใจในการดูแลลูกเพิ่มภูมิคุ้มกันผ่านทางน้ำนมแม่บันไดขั้นที่ 6 การดูดเต้าเปล่าเป็นการเตรียมพร้อมการดูดนมจากเต้าเปล่าโดยการบีบน้ำนมออก 15 นาที ก่อนให้ลูกดูดนมแม่จากเต้าโดยตรง เริ่มฝึกให้ลูกดูดนมจากเต้าบันไดขั้นที่ 7 การเปลี่ยนผ่านสู่การดูดนมจากเต้าควรให้ทารกได้เรียนรู้การดูดนมแม่ บันไดขั้นที่ 8  การวัดปริมาณน้ำนมที่ทารกได้รับจะช่วยยืนยันว่าทารกได้รับน้ำนมพอหรือไม่บันไดขั้นที่ 9 การเตรียมความพร้อม และสร้างความมั่นใจก่อนกลับบ้านได้เรียนรู้กับเหตุการณ์จริงที่จะเกิดขึ้น ช่วยสร้างความมั่นใจให้แม่ที่จะกลับไปเลี้ยงลูกที่บ้าน และบันไดขั้นที่ 10 มีระบบติดตามดูแลแม่หลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลติดตามภายหลังนำลูกกลับบ้าน เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือให้สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างต่อเนื่อง

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...