ปากเสียงของคนท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาประเทศ
ท้องถิ่นไทย ย้อนกลับ
กาญจนบุรี – หวิดวอดเพลิงไฟป่าลุกไหม้ใกล้สถานีถ่ายทอดวิทยุเก้าทัพ โชคดีดับได้ทัน และผู้นำท้องถิ่นร่วมประชุมหาแนวทางแก้ไขช้างป่า
20 มี.ค. 2567

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริเวณสถานีถ่ายทอดวิทยุ อุทยานประวัติศาสตร์สงครามเก้าทัพ หมู่ 3 บ้านโป่งปัด ตำบลช่องสะเดา อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี โดยนายวสันต์ สุนจิรัตน์  กำนัน ตำบลช่องสะเดา ได้รับแจ้ง จาก นางละออ ภู่ประดิษฐ  ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 1 ตำบลช่องสะเดา ได้มีไฟไหม้บนสถานีถ่ายทอดวิทยุ (สงครามเก้าทัพ) จึงมอบหมายให้ นางพะนอ กำเนิดเพ็ชร  สารวัตรกำนัน นายสมศักดิ์อินมั่น ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน พร้อมด้วย ทีมอาสาเฝ้าระวังไฟป่าหมู่ 5 แก่งปลากด  ร่วมกับเจ้าหน้าสถานีควบคุมไฟป่าสลักพระ - เอราวัณ  เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลช่องสะเดา พร้อมด้วยรถน้ำ ลงพื้นที่ ร่วมกันดับไฟป่า เพื่อระงับเพลิงไม่ให้ลุกลามเป็นวงกว้าง พร้อมทั้งทำแนวป้องกันไฟ และเชื้อเพลิงดับลงได้รวมถึงการลดปัญหาหมอกควัน ลดค่า PM 2.5 ซึ่งจุดเกิดเพลิงลุกไหม้สภาพป่าเกิดจากความแห้งแล้งอย่างมาก ทำให้ไฟได้ลุกไหม้อย่างรวดเร็วรุนแรงมาก

สำหรับก่อนหน้านี้ ณ ห้อง N 403 ชั้น 4 อาคารรัฐสภา ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300  นายวสันต์ สุนจิรัตน์ กำนัน ตำบลช่องสะเดา อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี น.ส.คณัสนันท์ น้อยทิพย์ สารวัตรกำนันตำบลช่องสะเดา เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากภัยช้างป่า ภาคประชาชน (ภาคตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี) พร้อมด้วยผู้แทนเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากภัยช้างป่าภาคประชาชน 7 จังหวัด  จังหวัดจันทบุรี  ชลบุรี ปราจีนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระยอง นครราชสีมา และจังหวัดกาญจนบุรี เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์  

โดยมีนายศักดินัย นุ่มหนู ประธานคณะกรรมาธิการ พร้อมคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาช้างป่าบุกรุกพื้นที่การเกษตร และที่อยู่อาศัยของประชาชน เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากภัยช้างป่าภาคประชาชน ได้เสนอให้นำช้างป่าออกจากชุมชน ป้องกันไม่ให้ช้างกลับเข้ามาอีก เสนอให้มีการทำคันกั้นช้างพร้อมถนนตรวจการณ์ ที่สามารถป้องกันช้างได้ ซึ่งสามารถต่อยอด พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้ชาวบ้าน เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาล และการหามาตราการเยียวยา การป้องกันเฝ้าระวังช้างป่า ให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จากช้างภัยป่าให้ได้รับความยุติธรรม ตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้นทุกๆ เรื่อง

นายศักดินัย นุ่มหนู ประธานคณะกรรมาธิการ กล่าวสรุปดังนี้
1.เรื่องให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สำรวจช้างป่าศึกษากายภาพรองรับช้างป่าในทุกผืนป่าของประเทศไทย รวมทั้งวิธีควบคุมจำนวนช้างป่าตะวันตกและสอดคล้องกับพื้นที่ป่า
2.เรื่องการจัดสรรพื้นที่บริหารจัดการด้านทรัพยากรแหล่งน้ำ อาหารให้ช้างป่าได้อาศัยอยู่ในส่วนเฉพาะหรือแนวป้องกันที่จะเข้ามาทำความเสียหายให้กับเกษตรกร จัดการทำสิ่งกีดขวางหริอแบริเออร์คอนกรีตให้เป็นที่เรียบร้อย
3.เรื่องให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชใช้เครื่องมือและเทคโนโลยี่ในการติดตามการเคลื่อนไหวของช้างป่า เช่นการใช้โดรน หรือการติดตามเพื่อเฝ้าระวังและแจ้งเตือนก่อนที่ช้างป่าจะเข้ามาทำความเสียหาย
4.เรื่องการพิจารณาใช้งบประมาณของกรมอุทยานที่ได้รับการจัดสรรแก้ไขปัญหาช้างป่าให้คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพพอที่จะขอใช้งบประมาณในส่วนอื่น  กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นคณะกรรมาธิการเห็นว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเช่นองค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบลควรให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาช้างป่าในพื้นที่ และช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยช้างป่า ภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2566 อย่างเร่งด่วน

คณะกรรมาธิการเห็นด้วยกับสำนักงานกิจการเกษตรที่จะหารือกับคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับเพิ่มอัตราการช่วยเหลือชดเชยพืชผลทางการเกษตรที่ได้รับผลจากภัยช้างป่าตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงตามหลักเกณฑ์การใช้เงินทดลองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสพภัยในกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2563
 
สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณปี พ.ศ.2568 ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย ให้ได้รับการจัดสรรงบประมาณที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาช้างป่า ควบคุมการเสียหายอย่างเป็นรูปกระทำตลอดจนเพื่อให้มีอาสาสมัครผลักดันช้างป่าที่เพียงพอต่อการเข้ามาบริหารจัดการ

ส่วนในระยะยาวคณะกรรมาธิการ เห็นด้วยที่จะแยกภัยช้างป่าออกจากสาธารณภัยอื่นๆ ตามระเบียบของกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดลองเพื่อช่วยเหลือผู้ประสพภัยกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2562 โดยให้กรมบัญชีกลางสำนักงบประมาณเป็นผู้ทบทวนกฏระเบียบดังกล่าวเพื่อให้การชดเชยเยียวยาที่เหมาะสมกับการเสียหาย ในการนี้เครือผู้ได้รับผลกระทบจากภัยช้างป่า ภาคประชาชนได้ยื่นหนังสือต่อ นายศักดินัย นุ่มหนู ประธานคณะกรรมาธิการ ภายหลังรับหนังสือ กล่าวว่ากรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ ตรวจสอบเอกสารตามขั้นตอนของทางราชการ และจะนำเสนอเรื่องนี้ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาดำเนินการต่อไป
   /////////////////////////////////////////////////////////////
ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา   ไหลวารินทร์ - รายงาน

 

หนังสือพิมพ์ OPT NEWS ONLINE
วันที่ 16 - 30 เมษายน 2567
อปท.เชิญเป็นแขก ดูทั้งหมด
27 ธ.ค. 2566
แพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ เป็นอาชีพที่ต้องเสียสละตนเองเพื่อผู้อื่น ไม่เพียงต้องดูแลรักษาผู้ป่วยตามหลักการทางการแพทย์เท่านั้น แต่ต้องเข้าใจและเข้าถึงจิตใจของผู้ป่วยอย่างแท้จริงอีกด้วย ดังนั้น ผู้ที่จะทำงานอาชีพนี้ ต้องมีหัวใจและอุดมการณ์ที่มีความเสียส...